รูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินที่เหมาะสมของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารจัดการ, ทรัพย์สินของวัดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินที่เหมาะสมของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยการพรรณนาโวหาร
ผลการวิจัยพบว่า ด้านการลงทะเบียนศาสนสมบัติของวัด ให้มีการลงทะเบียนตามแบบฟอร์มที่สำนักงานพระพุทธศาสนากำหนดมาให้ แบบฟอร์มที่เหมาะสมควรมีการระบุรายละเอียดที่ครบถ้วน นำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นภายในอนาคตได้ ด้านการกันที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์ ต้องมีตามระเบียบที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือมหาเถรสมาคมกำหนด ด้านการให้เช่าที่วัดหรือสิ่งปลูกสร้าง ให้มีการจัดทำสัญญาเช่า ตามรูปแบบที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกำหนด ด้านการให้เช่าที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เพื่อเป็นทางเข้าออก เพื่อความชัดเจนควรทำแบบสัญญานานปี เพราะวัดจะต้องส่งร่างสัญญาพร้อมทั้งเอกสารการเช่าอื่น ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ด้านการเก็บรักษาเงินของวัด มีการบริหารจัดการที่เหมาะสม มีการแสดงรายรับรายจ่ายชัดเจน มีส่วนงานที่แน่ชัดในการเก็บรักษาและตรวจสอบ ด้านการทำบัญชีรับจ่ายเงินของวัด วิธีทำบัญชีรับจ่าย ให้เจ้าอาวาสมอบให้ไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัด เป็นบุคลากรจัดทำบัญชีรับจ่ายประจำเดือน ทุกครั้งเมื่อสิ้นเดือน ด้านการจัดการข้อพิพาท มีคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พร้อมทีมงานมาคอยสนับสนุนในภารกิจการระงับข้อพิพาท ให้มีการประนีประนอมเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยดีงาม ด้านการกำหนดแบบทะเบียนบัญชีแบบสัญญา และแบบพิมพ์อื่น ๆ มีวิธีการลงทะเบียน จำหน่ายทะเบียน และการทำบัญชี รวมทั้งให้คำแนะนำการปฏิบัติแก่วัดเกี่ยวกับการดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สินของวัด
References
โกญจนาท เจริญสุข. (2561). แนวทางการใช้ประโยชน์ในที่ดินธรณีสงฆ์ของชุมชนอย่างมั่นคงในเขตสายไหม (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมงานวิจัย และมหาวิทยาลัยเกริก.
ณัฎฐ์ อุตรวิเชียร และอารดา ชัยเสนา. (2566). การคุ้มครองดูแลรักษาศาสนสมบัติของวัดในพุทธศาสนา. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 10(1), 197-209.
ณัฐวุฒิ เงินท้วม. (2563). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของเจ้าอาวาสตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 72-81.
เดช ชูจันอัด และคณะ. (2562). การจัดการศาสนสมบัติของวัดในสมัยปัจจุบันและสมัยพุทธกาล. รายงานประชุมวิชาการระดับชาติ MCU Congress 3 “นวัตกรรมทางการปกครองและการบริหารในยุคไทยแลนด์ 4.0”. วันที่ 31 สิงหาคม 2562. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดคำรณ แก้วเกลี้ยง และคณะ. (2565). การจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 339-353.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2541). คำวัด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระใบฎีกาสุชินนะ อนิญฺชิโต. (2563). การจัดการเงินและทรัพย์สินของวัด. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 5(2), 66-77.
พระมหาธฤติรุ่งชัยวิทูร. (2557). รูปแบบการพัฒนาพระสังฆาธิการ เพื่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานพรักษ์ ขนฺติโสภโณ (นาเมือง). (2557). การบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2550). บันทึกเรื่องพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง คณะสงฆ์ ร.ศ.121. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). สรุปข้อมูลจำนวนวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้น 31 ตุลาคม 2565, จาก https://aya.onab.go.th/cms/s26/u287/จำนวนวัดในพระนครศรีอยุธยา.
สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2560). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุภางค์ จันทวานิช. (2546). วิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น