การรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • สหยศ ทองคำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การรักษาอำนาจ, ผู้นำท้องถิ่น, อำนาจทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไป 2. ศึกษากระบวนการรักษาอำนาจ และ 3. นำเสนอแนวทางการรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นโดยการประยุกต์หลักพุทธธรรมในพื้นที่อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการส่วนท้องถิ่น นักวิชาการด้านหลักพุทธธรรม ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 18 รูปหรือคน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีการพรรณนา และสังเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัยและนำเสนอในรูปแบบของความเรียงข้อความตามลำดับ

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่น คือ 1. ด้านบุคคล 2. ด้านกฎหมาย 3. ด้านความสัมพันธ์ของเครือญาติ 4. ด้านการเมือง 2. กระบวนการรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่น คือ 1. การสร้างพันธมิตร กับกลุ่มของประชาชน กลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มผู้ที่มีฐานะมั่นคง 2. การขยายเครือข่าย บุคคลหรือกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ สามารถเป็นผู้ช่วยในการหาเสียงสนับสนุน 3. การใช้อำนาจที่เกิดจากกฎหมายหรือการแต่งตั้งและการใช้ความเชี่ยวชาญ อำนาจของผู้นำท้องถิ่นเป็นอำนาจตามกฎหมายที่เกิดจากการที่ประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยตรง 4. การใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้ข้อมูลสนับสนุนการสื่อสารเป็นเรื่องที่จำเป็น และต้องมีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล 5. การใช้สัญลักษณ์ ผู้นำท้องถิ่นจะใช้ตนเองเป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง 6. การใช้ความมุ่งมั่น ผู้นำท้องถิ่นต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการบริหารงาน 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรม โดยการนำหลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่น คือ 1. การเสียสละเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น 2. การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ 3. การประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 4. การไม่เลือกปฏิบัติ มีความเป็นธรรม และให้ความเสมอภาคกับทุกคน

References

เกรียงไกร เจริญผล และคณะ. (2565). การได้ การใช้ และการรักษาอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองสีเขียวในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(7), 377-388.

เดชะ สิทธิสุทธิ์. (2541). การสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในการเมืองท้องถิ่น : กรณีศึกษาเฉพาะกลุ่ม สันติธรรม ในเทศบาลเมืองนครปฐม (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไททัศน์ มาลา. (2554). การปกครองท้องถิ่นไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 1(2), 29-49.

ธรรมรัตน์ โพธิสุวรรณปัญญา. (2562). การสร้างฐานอำนาจของผู้นำการเมืองท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุลภรณ์ เทวอนรัมย์ และคณะ. (2562). กลยุทธ์การรักษาอำนาจทางการเมือง: กรณีศึกษานายณัฏฐ์คเณศ วรไกรปัญญาพงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองใหญ่ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เบียนนาร์ด ศึกแสนพ่าย. (2564). การสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของตระกูลยาวอหะซัน. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 2(1), 56-72.

ปฐวี โชติอนันต์. (2565). การปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ: มุมมองจากผู้บริหารท้องถิ่น. สืบค้น 16 สิงหาคม 2566, จาก https://theisaanrecord.co/2022/01/26/local-government-after-the-coup/

พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปฺญโญ. (2564). การสร้างภาพลักษณ์ทางจริยธรรมของนักการเมืองไทยยุคใหม่. (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่). น่าน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน ฯ.

พระอุดมสิทธินายก (กำพล มาลัย). (2566). การเสริมสร้างสุขภาวะและเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดเหล้าบุหรี่เชิงพุทธบูรณาการในจังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ, 1(4), 1-15.

พิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์ และคณะ. (2558). บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(2), 146-161.

ศิริรัตน์ ธรรมใจ. (2558). การรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สารวุฒิสภา. (2563). บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญเรื่องรัฐธรรมนูญหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 16 สิงหาคม 2566, จาก https://www.senate.go.th/ assets/portals/93/fileups/253/files/Analysis/63 /1_63.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสระแก้ว. (2564). ประกาศผลการเลือกตั้ง นายก อบต. และสมาชิกฯ อบต. จังหวัดสระแก้ว. สืบค้น 16 สิงหาคม 2566, จาก https://www.ect.go.th/th/sakaeo/db180sakaeodownload34?id=11920

องค์การบริหารส่วนตำบลพระเพลิง. (2564). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้น 2 กันยายน 2566, จาก https://phraphloeng.go.th/public/list/data/index/menu/1144

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite