ประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของการประปานครหลวง

ผู้แต่ง

  • เทพ เทพวัฒนปิยกุล ข้อมูล บริษัท เอ็นดีที อินสตรูเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลการบริหารจัดการ, พลังงานทดแทน, การประปานครหลวง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทน และ 3. นำเสนอรูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของการประปานครหลวง โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี มีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 349 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน เครื่องมือในการวิจัยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ การปรับเปลี่ยน การพัฒนา การผลิต ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทน พบว่า การบริหารจัดการ ตามลำดับคือ การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน การกำหนดนโยบายและการประชาสัมพันธ์ การจัดทำแผนปฏิบัติการ การกำหนดโครงสร้างการจัดการพลังงาน การทบทวนผลการดำเนินการ และหลักอิทธิบาท 4 ตามลำดับ คือ ฉันทะ จิตตะ วิมังสา วิริยะ ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของการประปานครหลวง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของการประปานครหลวง มีดังนี้ ประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของการประปานครหลวง 5 ด้าน ประกอบด้วย การผลิต ประสิทธิภาพ ความพึงพอใจ การปรับเปลี่ยน และการพัฒนา โดยมีหลักอิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมนำสู่ประสิทธิผล ประกอบด้วย ฉันทะ มีใจรัก วิริยะ สู้งาน จิตตะใส่ใจงาน วิมังสา ทำงานด้วยปัญญา และมีการบริหารจัดการทั้ง 6 ด้านเป็นพื้นฐานในการเสริมสร้างประสิทธิผลการบริหารจัดการ

References

การประปานครหลวง. (มปท.). 2021 ANNUAL REPORT การประปานครหลวง (MWA), เอกสารเผยแพร่. กรุงเทพฯ: การประปานครหลวง.

การประปานครหลวง. (2566). กปน. - กฟภ. ร่วมลงนาม MOU โครงการจัดการพลังงานในองค์กรด้วยระบบดิจิทัล (Digital Platform) ลดการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้องค์กร และประเทศชาติ. สืบค้น 24 สิงหาคม, จาก https://www.mwa.co.th/ mobile/readmore_view.php?nid=74732.

ณัฐพล อมตวณิช. (2560). รูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดโครงการด้านพลังงานทดแทน. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 2602-2617.

ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธนกร รัตตกุล. (2557). ประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของประเทศไทย. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 20(21), 55-76.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิศิษฎ์สร เอกกิตตินันท์. (2563). การพัฒนาการนำฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาปรับใช้เพื่อการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกรมทางหลวง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิงห์คำ มณีจันสุข. (2562). การบริหารจัดการสวัสดิการสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite