ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2562 ของประชาชน เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การไปใช้สิทธิ์, การใช้สิทธิ์การเลือกตั้งบทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และ 3. ศึกษาแนวทางการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2562 ของประชาชนเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตบางคอแหลม จำนวน 399 คน เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1. การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2562 ของประชาชนเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยจูงใจทางการเมืองส่งผลต่อการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน และหลักสุจริต 3 ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2562 ของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางส่งเสริมการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน โดยการประยุกต์หลักสุจริต 3 ด้านกายสุจริต ประชาชนควรซื่อสัตย์ต่อกฎ การไปใช้สิทธิ์ ด้านวาจาสุจริต ประชาชนและนักการเมืองควรมีและพึงปฏิบัติต่อกัน ด้านมโนสุจริต คิดดีเจตนาดีต่อการไปใช้สิทธิ์ ใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ
References
กมล ตันจินวัฒนกุล. (2555). หลักสุจริต. วารสารกระบวนการยุติธรรม. 5(2), 79-89.
เกรียงไกร พัฒนะโชติ. (2563). วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คนอง ฝายแก้ว. (2560). การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต 3 (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฐกาญจน์ เข็มนาค. (2563). พฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 ในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ดาวเรือง นาคสวัสดิ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัยในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2559 (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.
ปิ่นอนงค์ ทองบ่อ. (2563). การเสริมสร้างความเข้าใจการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพระอินทราชา อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูศรีธรรมวิเทศ (ประเสริฐ ปุญฺโญภาโส). (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสร้อยทอง ปญฺญาวุโธ (ประทุมทอง). (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก : ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2559 (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก
รัตนา สารักษ์. (2563). การส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองของประชาชนใน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
สุทน ทองเล็ก. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎี สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้าและคณะ. (2565). พุทธพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 5(1), 101-115.
อมร พิกุลงามโชติ. (2564). ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 7(1),129-143.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น