พุทธบูรณาการพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาล ในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดธวัชชัย ธวชฺชยเมธี วัดโพธิ์ทอง พิษณุโลก

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, ศักยภาพการบริหารงาน, ผู้บริหารเทศบาล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาล 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาล และ 3. เพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยการศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 312 คน ทำการสุ่มแบบแบ่งพื้นที่ โดยการจัดแบ่งประชากรเป็นกลุ่มตามเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก ทั้ง 9 อำเภอ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.966 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน และสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า 1. ศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาล พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ 1. ด้านความรู้ 2. ด้านทักษะ และ 3. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า 1. กระบวนการบริหาร และ 2. หลักไตรสิกขา 3. พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย หลักไตรสิกขา ได้แก่ ด้านศีล สมาธิ และปัญญา

References

ทักษิณ ประชามอญ. (2560). รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุชัยพัชรมงคล. (2564). การพัฒนาศักยภาพของเยาวนในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยหลักพุทธธรรม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). หัวใจพระพุทธศาสนา. พุทธจักร, 61(5), 7-10.

ศศิพัชร์ วัฒนรวีวงศ์. (2564). พุทธบูรณาการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมาน รังสิโยกฤษฏ์. (2530). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ., 2530.

สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2558). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุทธิพร รัตนธร ศรัทธา.(2561). รูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาในกิจกรรมของชมรมพุทธศาสตร์กรมสรรพากร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite