ธรรมคุ้มครองโลกกลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง

ผู้แต่ง

  • อภิชัย พิทยานุรักษกุล นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ธรรมคุ้มครองโลก, กลุ่มผลประโยชน์, พรรคการเมือง

บทคัดย่อ

ความต้องการผลประโยชน์ทางการเมืองยุคปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กลุ่มผู้ที่ให้การสนับสนุนนักการเมืองจึงต้องมีการปรับตัวและสร้างเงื่อนไขในการต่อรองกับผู้มีอำนาจทางการเมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการหรือการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้มีอำนาจกับผลประโยชน์ มนุษย์มีความต้องการในเรื่องปัจจัย 4 มนุษย์จึงมีวิธีการที่จะทำให้ได้มาซึ่งความต้องการด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป การดำเนินการเพื่อแสวงหาผลประโยชน์คือการใช้วิธีการเรียกร้องหากไม่ได้ผลก็จะใช้วิธีการใช้อำนาจต่อรองหรือสร้างแรงกดดันให้ผู้มีอำนาจรัฐทำตาม การนำหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตการประยุกต์ใช้ก็จะสามารถแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และวิธีการในการเข้ามาสู่ความเป็นนักการเมืองของแต่ละคนเป็นสำคัญ บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาและเข้าใจถึงกลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง กลยุทธ์และวิธีการเข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ และนำเสนอหลักพุทธรรมคือความละอายใจต่อบาป ความเกรงกลัวโทษที่จะเกิดขึ้นกับตนเองที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทยในปัจจุบัน

References

คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง. (2544). ธรรมวิจารณ์ฉบับมาตรฐานบูรณาการชีวิต นักธรรมชั้นเอก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.

ธีรภัทร์ ลอยวิรัตน์. (2550). บทบาททางการเมืองของหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราชต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประณต นันทิยากุล. (2547). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพรรคการเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2560). การเมืองกับความเป็นธรรม. สืบค้น 4 ธันวาคม 2565, จากhttps://www.matichon.co.th/columnists/news_559597.

มนตรี เจนวิทย์การ. (2526). สังคมวิทยาการเมือง: การศึกษารัฐศาสตร์แนวกลุ่ม หลักและวิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มนตรี เจนวิทย์การ. (2528). บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ที่มีต่อรัฐบาลระบบราชการ ประชาชนและการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2524). พจนานุกรม ศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษไทย. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองศิลป์การพิมพ์.

วิทยา นภาศิริกุลกิจ และคณะ. (2539). พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2544). การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองไทย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้น 4 ธันวาคม 2565, จาก http://www.royin.go.th/dictionary.

Woodton, G. (1978). Interest Group. Englewood Cliffs: Prentice Hall.

Heinz, E. (1963). The Behavioral Persuasion in Politics. New York: Random House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite