การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย เย็นใจมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พรรษา พฤฒยางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การเมือง, การใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 398 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.12) 2. ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ รายได้ ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองที่มีผลต่อการใช้สิทธิการเลือกตั้งทั่วไป ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญตามสมมติฐาน 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีการศึกษา การมีส่วนร่วมทางการเมืองต่อการเลือกตั้ง ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ขอเสนอแนะมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนควรส่งเสริมปลูกฝังอุดมการณ์ และสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจัดประชุมและสัมมนาเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองที่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิ และหน้าที่ของความเป็นพลเมืองที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

References

กองราชการส่วนตำบล. (2560). ข้อมูลสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

ชุติมา ศิริเมธาวี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

นุชปภาดา ธนวโรดม. (2557). พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครสวรรค์ จังหวัดนครวรรค์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูพิพิธพัฒนโสภณ (สุบิน สุเมโธ). (2558). รูปแบบการพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาณัฏฐพจน์ ขนฺติธโร (ร่องน้อย). (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล กองราชการส่วนตำบล. (2560). ข้อมูลสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล เอกสารวารสาร. ม.ป.ท.

พระสร้อยทอง ปญฺญาวุโธ (ประทุมทอง). (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับ ท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัตนา สารักษ์. (2563). การส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุนัดดา นราศร. (2553). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนบ้านหนองใหญ่ ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุพัตรา สุภาพ. (2556). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.

เสนอ อัศวมันตา. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite