ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินของไทย

ผู้แต่ง

  • อรัญ พันธุมจินดา นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ธรรมาภิบาล, การบริหารราชการแผ่นดิน, สถานการณ์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดิน 2. เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลที่นำมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินของประเทศไทย โดยพัฒนาจากหลักพุทธธรรมาภิบาลนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูปหรือคนทำการวิเคราะห์ข้อมูลวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า หลักธรรมาภิบาลที่นำมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินของประเทศไทย ได้แก่ 1. นำหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างจริงจังและเด็ดขาด 2. ปรับหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉินให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์บ้านเมือง 3. พัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานตามที่ประชาชนต้องการ มีความโปร่งใส 4. การกำหนดนโยบายอย่างมีวิสัยทัศน์ มีบังคับใช้กฎหมายที่ให้ความเสมอภาคและเป็นธรรม 5. การบริหารแบบพหุภาคี 6. มีการสื่อสารที่ชัดเจน เปิดเผยกับประชาชน 7. พัฒนากฎหมายที่เอื้อให้เกิดการบริหารขับเคลื่อนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างเที่ยงตรง เที่ยงธรรม และยุติธรรม 8. การพัฒนา Application เพื่อให้รัฐบาลสามารถเข้าถึงการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและการเข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง

 

References

เกษม ฐิติสิทธา. (2561). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลในการแก้ปัญหาในองค์กรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานกลาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีรพันธ์ ดีมาก. (2559). การพัฒนาการควบคุมภายในตามหลักธรรมาภิบาลของวิทยาเขตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีรยุทธ ชะนิล. (2566). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างความนิยมสำหรับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้สัปปุริสธรรม 7. วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ, 1(4), 67-84.

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 69 ง. หน้า 1.

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. (2548, 16 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอน 58 ก. หน้า 1-9.

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2559). การรวมศูนย์อำนาจและการกระจายอำนาจกับการบริหารราชการแผ่นดินไทย: การทบทวนแนวคิดข้อถกเถียงและข้อพิจารณาเพื่อการปฏิรูป (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สรวิชญ์ เปรมชื่น. (2560). คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระบบราชการไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 2(2), 43-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite