การประยุกต์หลักพุทธธรรม และการสื่อสารทางการเมืองเพื่อสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ธีรยุทธ ชะนิล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักสัปปุริสธรรม 7, การสร้างความนิยม, การเลือกตั้งท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น 2. ศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองที่ส่งผลต่อการสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น และ 3. ศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรม 7 กับการสื่อสารทางการเมือง เพื่อสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมือง การสื่อสารทางการเมืองส่งผลต่อการสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับ คือ ด้านผู้ส่งสาร ด้านช่องทางการสื่อสาร ด้านสาร และด้านผู้รับสาร ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ส่งผลต่อการสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 โดยเรียงลำดับ คือ ด้านมัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ด้านกาลัญญุตา รู้จักกาลเวลา ด้านอัตตัญญุตา รู้จักตน ด้านปริสัญญุตา รู้จักชุมชน สังคม และด้านธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ สามารถพยากรณ์การสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นได้ 3. การนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองเพื่อสร้างความนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ การรับรู้ความสำคัญ เหตุผลของการที่ต้องมีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น การรู้บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ประเมินผลและการดำเนินการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นได้

References

บาว นาคร. (2552). การสื่อสารทางการเมืองในสถานการณ์ความขัดแย้งของสังคมไทย. ปัตตานี: ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้.

ประคอง มาโต. (2564). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2532). ข่าวสารการเมืองของคนไทย 2532. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ เจ้าพระยาการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิศึกษาเพื่อสันติภาพ.

พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร. (2564). การนำหลักพุทธธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์อาคม อาคมธีโร. (2565). พุทธบูรณาการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย ของจังหวัดเพชรบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564). จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักงานสถิติจังหวัดนครศรีธรรมราช.

สุภากาญจน์ ชัยฤกษ์ และคณะ. (2563). โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563 : การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สุรวุฒ ณ ระนอง. (2566). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงในการบริหารองค์กร. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(1), 189-198.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite