การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ภัคชุดา พูนสุวรรณ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, สัปปายะ, การท่องเที่ยวชุมชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา และ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้ใช้แบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.927 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 395 คน โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 31,459 คน จากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา 1. การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 2 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 2. หลักสัปปายะ 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลาทั้ง 3 ด้านคือ 1. การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีประสิทธิภาพ 2. การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3. การเชื่อมโยงผลประโยชน์การท่องเที่ยวให้กับชุมชนต่าง ๆ โดยประยุกต์กับหลักสัปปายะ 4 และมีการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 4 ด้าน เป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลาให้ประสบความสำเร็จ

References

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดสงขลา. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้น 15 กันยายน 2566, จาก http://measures.disaster.go.th/upload/minisite/file

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2551). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

ธารนี นวัสนธี และคณะ. (2563). การบูรณาการรูปแบบการท่องเที่ยวจากฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยววิถีไทยอย่างสร้างสรรค์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเซนตจอห์น, 23(32), 351-368.

พระครูบวรสิริทัต (สมพงษ์ สิริวณฺโณ). (2562). การทองเที่ยวชุมชน : การวิเคราะห์กระบวนการสร้างเครือข่ายและผลสัมฤทธิ์ในจังหวัดจันทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีรวัฒน์ เสสปุญฺโ (สันยศติทัศน์). (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร. (2562). รูปแบบการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุดชีวัน นันทวัน ณ อยุธยา. (2551). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). ข้อมูลสถิติจำนวนประชากร ปี พ.ศ. 2565. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/

new_stat/webPage/statByYear.php

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน). (2560). CBT ทำอย่างไรให้ยั่งยืน? กรุงเทพฯ: โปรดักเฮ้า แอสเซอเซอร์รี่.

อาภรณ์รัตน์ เลิศไผ่รอด. (2559). การจัดการสังคมและวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite