การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • อภิชัย พิทยานุรักษกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุมาลี บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, จริยธรรมทางการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย, นักการเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพความไว้วางใจของประชาชนต่อการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี และ 3. เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน ด้วยแบบสัมภาษณ์ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1. ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจ ร่วมกันทำนายการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรี ในจังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 86.0 มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และหลักสัปปุริสธรรม 7 ร่วมกันทำนายการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรีในจังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 82.4 มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. การประยุกต์หลักธรรมเพื่อความไว้วางใจไปการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรีในจังหวัดชลบุรี จากการสัมภาษณ์พบว่า การรู้จักเหตุ นายกเทศมนตรีมีความสามารถรู้ปัญหาในพื้นที่ มีเหตุผลในการกำหนดนโยบายเพื่อท้องถิ่น การรู้จักผล รู้เป้าหมายในการกำหนดนโยบายและปัญหาที่เกิดขึ้นในเทศบาล การรู้จักตน รู้บทบาทหน้าที่ มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อประชาชน การรู้จักประมาณ  สามารถบริหารงบประมาณท้องถิ่นเป็นที่โปร่งใสและเกิดประโยชน์สูงสุด การรู้จักกาล นายกเทศมนตรีเข้าไปช่วยเหลือประชาชนเมื่อมีปัญหาสามารถแก้ไขได้ทันเวลา การรู้จักชุมชน สังคม รู้จักท้องถิ่นที่เข้าไปพบปะประชาชนสม่ำเสมอ ส่งเสริมจุดเด่นกำจัดจุดด้อยของแต่ละชุมชน การรู้จักบุคคล รู้จักประชาชนคนในพื้นที่ดี ทั้งผู้นำกลุ่ม ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน และเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่

References

จริยา มหายศนันทน์. (2558). การพัฒนาบทบาทและหน้าที่ในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์. (2565). จำนวนประชากร 2565 เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ (ทน.เจ้าพระยาสุรศักดิ์) อำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี สืบค้น 15 กันยายน 2565, จาก http://www.chaoprayasurasak.go.th.

ประคอง มาโต. (2564). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์). (2564). การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ. (2557). ประเมินผลการกระจายอำนาจของไทยระยะ 15 ปี: สังคมไทยได้อะไร ก้าวหน้าไปถึงไหน และจะเดินต่อไปกันอย่างไร ?. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 12(3), 82-122.

วุฒิสาร ตันไชย. (2546). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ศุภณัฐ เจริญสุข. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Citrin, W.M. & Leonard, M.L. (1974). The Right Versus the Obligation to Vote: Effects on Cross-Country Government Growth. Economics and Politics, 5(1), 43-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite