การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลของผู้นำทางการเมืองในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, ธรรมาภิบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรค 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการส่งเสริมธรรมาภิบาล 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่ม คือ ผู้ปกครองท้องที่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน และผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการเลือกแบบเจาะจงตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เหมาะสม จำนวน 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า 1. มีจุดแข็ง คือ มีการเผยแพร่ข้อมูลการใช้งบประมาณและผลการดำเนินงานในระดับท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและให้ความสำคัญในการดำเนินการที่เปิดเผยและโปร่งใส ร่วมมือกับกลุ่มสังคมอื่นๆ เพื่อร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น แต่มีจุดอ่อน คือ นักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสงครามขาดความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ขาดความรู้ในการสร้างความพร้อมในการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ ขาดงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 2. องค์ประกอบในการส่งเสริมธรรมาภิบาลของผู้นำทางการเมืองในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม มี 6 ประการ คือ 1. หลักนิติธรรม 2. หลักคุณธรรม 3. หลักความโปร่งใส 4. หลักการมีส่วนร่วม 5. หลักความรับผิดชอบ 6. หลักความคุ้มค่า 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล ของผู้นำทางการเมืองในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ฉันทะ มีใจรัก ผู้นำทางการเมืองในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงครามเต็มใจให้บริการประชาชนที่มารับบริการ วิริยะ พากเพียรทำ ปฏิบัติตามแผนในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด จิตตะ ติดตามตรวจสอบ จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา วิมังสา รอบคอบแก้ไข
References
จิดาภา เร่งมีศรีสุข. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาจริยธรรมาภิบาล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลาง (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณฐมน หมวกฉิม. (2564). การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2563). การบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริรัตน์ คลังเย็น. (2557). การบริหารงานสู่ความเป็นเลิศตามหลักพุทธธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุมาลี บุญเรือง. (2564). การพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัญธิษฐา อักษรศรี. (2563). ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น