การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
การบูรณาการหลักพุทธธรรม, จริยธรรมทางการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย, นักการเมืองท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชุมพร โดยการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือ คน และสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย
ผลการวิจัยพบว่า 1. นักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชุมพร ฟังเสียงประชาชนให้การเคารพพระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ยึดถือมติคนส่วนใหญ่ รับฟังความคิดเห็นของผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีของสังคมไทย 2. ปัจจัยจริยธรรมพื้นฐาน ส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.01 สามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 13 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และหลักสัปปุริสธรรม ส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดชุมพร ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.01 สามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 5.80 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3.การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดชุมพร พบว่า การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น ให้เป็นผู้นำที่มีเหตุผล เป็นผู้รู้จักตน รู้ว่าท้องถิ่นของเป็นสภาพบริบท รู้จักประมาณ ในสิ่งที่ตนมีและจุดแข็งของท้องถิ่น รู้จักกาลเวลา รู้ลำดับการทำงานก่อนหลังตามความจำเป็นของประชาชน รู้จักชุมชน รู้จักท้องถิ่นสภาพบริบทของสังคม รู้จักบุคคล ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
References
การเลือกตั้งทั่วไปจังหวัดชุมพร ปี พ.ศ.2562. (2562). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562. สืบค้น 2 มีนาคม 2565, จากhttps://th.wikipedia.org/ wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562.
ชญาดา เข็มเพชร. (2559). การพัฒนาผู้นำต้นแบบในสังคมไทย (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์. (2564). การเสริมสร้างจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฐดนัย แก้วโพนงาม. (2561). จริยธรรมของนักการเมืองในระบบการเมืองไทยปัจจุบัน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 3(1), 21 - 35.
ธนนันท์ สิงหเสม และคณะ. (2558). แนวทางการส่งเสริมจริยธรรม สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับท้องถิ่น. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 11(1), 58 - 70.
ประคอง มาโต. (2564). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานรินทร์ สุรปญฺโ (เอมพันธ์). (2564). การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทาง การเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพวรรณ ปุริมาตร. (2564). พลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อิสระพัฒน์ ธีรพัฒน์สิริ. (2564). บทบาทของสื่อมวลชนที่มีต่อการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมือง. สืบค้น 7 มิถุนายน 2564, จาก http://library.senate.go.th/document/Ext3468/3468378_0002.PDF
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น