พุทธบูรณาการเพื่อประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
พุทธบูรณาการ, ประสิทธิผลการบริหารงาน, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบริหารงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงาน และนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 363 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเนื้อหาพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลของการบริหารงาน อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงาน พบว่า การบริหารจัดการภาครัฐส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้ร้อยละ 69.90 และหลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้ร้อยละ 72.00 3. พุทธบูรณาการเพื่อประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า 1. ด้านฉันทะ มีใจรัก กำหนดเป้าหมายการพัฒนาตามความต้องการในท้องถิ่น 2. ด้านวิริยะ พากเพียรทำ เน้นการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม 3. ด้านจิตตะ เอาจิตฝักใฝ่ ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างจิตใจ มุ่งเน้นคุณธรรมและจริยธรรม 4. ด้านวิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวน วิเคราะห์และประเมินผล เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2563). สรุปข้อมูล อปท.ทั่วประเทศ. สืบค้น 25 เมษายน 2563, จาก http://www.dla.go.th./
work/abt/index.jsp.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). คู่มือหลักเกณฑ์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ผดุง วรรณทอง และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารองค์กรเอกชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 99- 110.
พลภัทร ช่างสากล. (2558). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการดาเนินงานของเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2563). กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย. สืบค้น 25 เมษายน 2563, จาก http :// www.dla.go.th.
เสน่ห์ ใจสิทธิ์. (2557). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนด นโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น