การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในกระบวนการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม

ผู้แต่ง

  • กนกกุล เพชรอุทัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • วันชัย ธรรมสัจการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
  • เกษตรชัย และหีม มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
  • ปัญญา เทพสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ชุมชนท้องถิ่น, การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิชาการมุ่งศึกษาความสำคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม เพื่อเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในศึกษาผลกระทบทางบวกและลบจากการพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่ยั่งยืนทั้งในเรื่องของสิ่งแวดล้อมทางสังคม ทั้งนี้ช่วยลดความขัดแย้งและการประท้วงต่อโครงการ และการพร้อมรับมือกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่

ดังนั้นการพัฒนาโครงการและกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน จำเป็นจะต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในกระบวนการตัดสินใจเพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อพื้นที่และช่วยในการเพิ่มความเชื่อมโยงและความเข้าใจระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชนและชุมชนท้องถิ่น กระบวนการประเมินผลกระทบทางสังคมเป็นการประเมินคาดการณ์ในอนาคตถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมคล้ายกับการติดตามการดำเนินการนโยบายเฉพาะเรื่อง หรือการพัฒนาโครงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของความเหมาะสมของชาติ รัฐ หรือกฎหมายตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของรัฐนั้น ๆ

References

ขรรค์เพชร ชายทวีป. (2552). ผู้ทรงสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตคณะนิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์. (2554). แนวทางการทำ SEA และการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา.เล่มที่ เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก.

สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มละออ. (2560). คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2549). แนวทางการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม .

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.onep.go.th/.

Craig, D. (1990). Social impact assessment: Politically oriented approaches and applications. Environmental Impact Assessment Review, 10(1-2), 37-54.

Chaker, A. et al. (2006). A review of strategic environmental assessment in 12 selected countries. Environmental Impact Assessment Review, 26(1), 15-56.

Esteves, A. et al. (2012). Social impact assessment: the state of the art. Impact assessment and project appraisal, 30(1), 34-42.

Gulakov, I., & Vanclay, F. (2019). Social impact assessment and stakeholder engagement in the Russian Federation: representativeness, deliberativeness and influence. Environmental Impact Assessment Review, 75, 37-46.

Inter organizational Committee on Guidelines and Principles. (1994). Guidelines and Principles for Social Impact Assessment. Impact Assessment, 12(2), 107-52.

Zakaria, Y et al. (2023). Social impact assessment (SIA) of the Tamale viaduct project in Ghana: Stakeholders management practices, better or worse? Heliyon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite