การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามการรับรู้ของประชาชน

ผู้แต่ง

  • ณัฐภน ลิมปิเจริญ บริษัท โคราชอิงค์เจ็ท 2010 จำกัด

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย, การรับรู้ทางการเมืองของประชาชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสง์เพื่อศึกษา 1. การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย 2. การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชน และ 3. นำเสนอการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามการรับรู้ของประชาชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของประชาชนบ้านเกาะราษฎร์สามัคคี ติดตามรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และทำกิจกรรมในชุมชนจูงใจให้สมาชิกชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมือง สนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการเมือง 2. การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชน มีติดตามข่าวสารทางการเมือง ข่าวสารเกี่ยวกับพรรคการเมือง นโยบายพรรคการเมือง กิจกรรมทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการเมือง ขับเคลื่อนกิจกรรมทางเมืองตามระบอบประชาธิปไตย 3. เสนอแนะเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น โดยให้มีการตรวจสอบ ติดตาม และควบคุมการทำงานของรัฐอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที อันเป็นหัวใจสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย

References

กฤษฎากรณ์ ยูงทอง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์: กรณีศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลนางั่ว (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

กิติมา สุรสนธิ. (2555). การรู้เท่าทันสื่อกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 3(2), 25-31.

ถิรวัฒน์ แจ่มกระจ่าง. (2557). ความสัมพันธ์ของการสื่อสารที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในเขตเทศบาลนคร จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(1), 46-59.

นะโม สุขปราณี และคณะ. (2564). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองเชิงพุทธบูรณาการของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(1), 1-15.

พรทิพย์ อริยเดช. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลพังเทียม อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรสวรรค์ สุตะคาน. (2558). การกล่อมเกลาทางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของระเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 12(2), 59-72.

ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน: แนวคิด หลักการและการส่งเสริม. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 5(2), 385-395.

ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รัชตา คำเสมานันทน์. (2563). การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของกรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบลในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 11(2), 397-412.

รัฐ กันภัย และธรรมนิตย์ วราภรณ์. (2558). การรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตาบล จังหวัดภาคตะวันตกตอนล่าง. วารสาร สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 1075-1089.

วิทยา จิตรมาศ และคณะ. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน: กรณีศึกษาการเลือกตั้งนายกหรือสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนครราชสีมา.

สุรีพร คลังพระศรี. (2561). ลักษณะการสื่อสารการเมืองและความคาดหวังทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(6), 63-73.

Royal Irrigation Department. (2013). Good Governance and Irrigation Management in Perspectives of Service Providers, Fiscal Year 2013. Bangkok: Royal Irrigation Department.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite