ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • คณัสนันท์ พลเคน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รัฐพล เย็นใจมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การให้บริการ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสังคหวัตถุและหลักการการให้บริการสาธารณะกับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 354 คน สุ่มด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมและการให้บริการสาธารณะกับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก การให้บริการสาธารณะกับความพึงพอใจของประชาชนด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (R=.954**) 3. ปัญหาและอุปสรรค พบว่า ขาดการประชาสัมพันธ์เรื่องแผนการพัฒนาชุมชน ขาดการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพแก่ประชาชน ระบบส่งน้ำเพื่อการเกษตรยังไม่เพียงพอและทั่วถึงแก่ประชาชน ข้อเสนอแนะคือ ควรส่งเสริมด้านการประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลมากขึ้น ควรมีการส่งเสริมการประกอบอาชีพให้กับประชาชน

References

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมสาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

บานเย็น ศรีเกิน. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสาธารณะตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลคอกช้าง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวินัยธรยิ่งยง ธมฺมวโร (โหมดศิริ). (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกะไห อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ฉบับที่ 7 พุทธศักราช 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอน 50 ก. หน้า 151.

วัฒนา ภังคสังข์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตำรวจภูธรหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานตรวจสอบภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร. (2558). ความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ 2558 (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์. (2564). ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. สืบค้น 1 สิงหาคม 2564, จาก https://www.nongyangtoy.go.th/news/activity/content/344

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite