การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุ กรณีตติยปาราชิกตามหลักพุทธศาสนาเถรวาทและ ความรับผิดอาญา ของบุคคลในความผิดต่อชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา
คำสำคัญ:
ความรับผิดตามพระธรรมวินัย, ตติยปาราชิก, ความรับผิดอาญาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระทำโดยเจตนาตามพระวินัยปิฎกและการกระทำโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา 2. ศึกษาโครงสร้างความผิดต่อชีวิตตามตติยปาราชิกในพระวินัยปิฎกและประมวลกฎหมายอาญา 3. เสนอข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะปรับปรุงกฎหมายอาญาให้สอดคล้องกับพระวินัย ศึกษาวิจัยเอกสาร เก็บข้อมูลจากเอกสารผลงานทางวิชาการ เช่น หนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และงานวิชาการในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. เจตนา (คดีอาญา) แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ เจตนาประสงค์ต่อผล หมายถึง รู้สำนึกและมุ่งหมายจะให้เกิดผลขึ้น เจตนาเล็งเห็นผล หมายถึง ไม่ได้ประสงค์ต่อผล 2.การกระทำทุกฐานความผิด ผู้กระทำจะรับผิดหรือรับโทษก็ต่อเมื่อได้มีการกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายกำหนด การกระทำทุกฐานความผิด ผู้กระทำจะรับผิดหรือรับโทษก็ต่อเมื่อได้มีการกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายกำหนด 3.การเปรียบเทียบทั้ง 5 ด้าน มีส่วนที่เหมือนกันอยู่ 1 ด้าน คือ ด้านที่ 3 องค์ประกอบภายใน คือ พระบัญญัติใช้คำว่า “จงใจ” ส่วนคำว่า “เจตนา” มีความหมายเหมือนกัน คือ มีความตั้งใจที่จะแสวงหาศัสตราอันจะพรากกายมนุษย์ ส่วนที่ต่างกันมี 1 ด้าน คือ โทษที่จะได้รับ สำหรับอนุบัญญัติ โทษที่จะได้รับ คือ “ปาราชิก” ส่วนบทบัญญัติ โทษที่จะได้รับ คือ “จำคุก ปรับ” เป็นโทษปานกลาง
References
กรมการศาสนา. (2543). กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรและคู่มือการเรียนการสอนศาสนศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: การศาสนา.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2544). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณาจารยสำนักพิมพ์เลี่ยงเซียงเพียรเพื่อพุทธศาสน. (2546). หนังสือบูรณาการแผนใหม่นักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเซียง.
ปลื้ม โชติษฐยางกูร. (2559).คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพโสภณ ประยูร ธมฺมจิตฺโต. (2539). กรรมและการเกิดใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต.(2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
ภูริชญา วัฒนรุ่ง.(2545). หลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมเด็จพระญาณสังวร. (2539). อำนาจแห่งกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. (2535). คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2535. ที่ 3799/2535 ฎส.10. กรุงเทพฯ: บริษัท กรุงสยาม พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด.
สุขุม นวลสกุล และคณะ. (2544). การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น