กลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี: ศึกษากรณีการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2563
คำสำคัญ:
การสื่อสารการเมือง, กลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง, องค์การบริหารส่วนจังหวัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาบริบททางการเมืองที่ส่งผลต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง 2. เพื่อศึกษากลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้ชนะเลือกตั้งเป็นอันดับหนึ่งและผู้ที่ได้คะแนนเป็นอันดับสอง ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีพ.ศ. 2563 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตการณ์ และการวิจัยเอกสาร
ผลวิจัยพบว่า 1. บริบททางการเมืองในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดความขัดแย้งภายในกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ฐานเสียงแตกแยกกัน ส่งผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้แก่ผู้สมัครอิสระ 2. ผลการศึกษากลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของนายพงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว ซึ่งเป็นผู้ชนะเลือกตั้งเป็นนายก อบจ. พบว่า นายพงษ์ศักดิ์ ได้นำเอาแนวคิดทางการตลาดทางการเมืองมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการวางตำแหน่ง การจำแนกส่วนทางการตลาด และส่วนชองส่วนผสมทางการตลาด 4 P มีการนำเสนอได้อย่างผสมกลมกลืน ทำให้ประสบความสำเร็จ ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.สุราษฎร์ธานี ส่วนนายชุมพล กาญจนะ ซึ่งเป็นผู้สมัครในนามของพรรคประชาธิปัตย์ มิได้นำเอากลยุทธ์การตลาดทางการเมืองมาใช้ จึงได้รับคะแนนมาเป็นอันดับสอง
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2555). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
จุมพล หนิมพานิช. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรภัทร์ ลอยวิรัตน์. (2556). การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร : ศึกษากรณีการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2556. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(1), 1085 - 1097.
นันทนา นันทวโรภาส. (2554). ชนะการเลือกตั้งด้วยพลังการตลาด. กรุงเทพฯ: แมสมีเดีย.
นันทนา นันทวโรภาส. (2558). สื่อสารการเมือง : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: แมสมีเดีย.
ไพบูลย์ บุตรเลียบ. (2554). การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร : ศึกษากรณีการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication: An Introduction to Theory and Practice. San Fransisco: Rinchart Press.
McNair, B. (1999). An Introduction to Political Communication. London: Routledge.
Newman, B. I. (1999). The Marketing of the President. California: Sage Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น