การสื่อสารทางการเมืองในภาวะวิกฤติการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) : ศึกษาเปรียบเทียบรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสิงคโปร์

ผู้แต่ง

  • ดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการเมือง, ภาวะวิกฤติ, ไวรัสโคโรนา 2019, ไทย, สิงคโปร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมืองในภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 และ 2. เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการสื่อสารทางการเมืองในภาวะวิกฤติฯ ของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสิงคโปร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า 1. บริบทที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมืองในภาวะวิกฤติฯ ของรัฐบาลไทย คือ การขาดแผนการบริหารวิกฤติ การสื่อสารไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนบริบทที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมืองในภาวะวิกฤติฯ ของรัฐบาลสิงคโปร์ คือ สิงคโปร์เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เป็นเกาะมีทรัพยากรจำกัด ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกกักตุนสินค้า 2. การเปรียบเทียบกระบวนการสื่อสารในภาวะวิกฤติฯ ของรัฐบาลไทยและรัฐบาลสิงคโปร์ พบว่า รัฐบาลไทยไม่มีแผนบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการทั้งภาครัฐ ขาดการประเมินสถานการณ์ ไม่มีกลยุทธ์การสื่อสารที่ชัดเจน การสื่อสารไม่เป็นไปทิศทางเดียวกัน ขาดการติดตามประเมินผล สำหรับกระบวนการสื่อสารทางการเมืองในภาวะวิกฤติของรัฐบาลสิงคโปร์มีแผนการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการทั้งภาครัฐ ติดตามสถานการณ์และจัดตั้งศูนย์บริหารวิกฤติ ผู้ส่งสารมีทักษะสื่อสารโดดเด่น ช่องทางการสื่อสารครอบคลุม มีการสื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน และมีการติดตามประเมินผลเพื่อรับมือในระยะยาว

References

ณัฐศักดิ์ โสภาเจริญ. (2561). การจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤติของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์).กรุงทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาวิน โมสูงเนิน. (2554). การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(3), 2 – 15.

Coombs, W. T. (2015). Ongoing crisis communication: Planning, Managing, and responding 4th ed. Los Angeles: Sage.

Lai, A. Y. & Tan, S. L. (2012), Impact of Disasters and Disasters Risk Management in Singapore: A Case Study of Singapore’s Experience in Fighting the SARS Epidemic. In Sawada, Y. and S. Oum (eds.). Economic and Welfare Impacts of Disasters in East Asia and Policy Responses. Jakarta: ERIA.

Park, H. (2009). The Association between the Public's Perceptions of Government's Crisis Communications and Government-Public Relationships. Accessed March 12, 2021

Reynolds, B. & Quinn, S. (2008). Effective Communication During an Influenza Pandemic: The Value of Using a Crisis and Emergency Risk Communication Framework. Health Promotion Practice, 9(4_suppl), 13S-17S.

Siegrist, M. & Zingg, A. (2014). The role of public trust during pandemics: Implications for crisis communication. European Psychologist, 19(1), 23-32.

Smith, R. D. (2006). Responding to global infectious disease outbreaks: Lessons from SARS on the role of risk perception, communication and management. Social Science & Medicine, 63(12), 3113-3123.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite