ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 พ.ศ. (2536)

ผู้แต่ง

  • พระครูบวรศีลวัฒน์ (อำนวย สีลธโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วรพจน์ ถนอมกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประมาณเลิศ อัจฉริยปัญญากุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กฎหมาย, พระอุปัชฌาย์, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษา คุณลักษณะ กฎ ระเบียบวิธีการปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 เปรียบเทียบกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ 2. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ แนวคิดวิธีการปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 เปรียบเทียบกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณสมบัติผู้ที่ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ คุณสมบัติฝ่ายสุกกปักษ์ คือ ธรรมฝ่ายขาว หมายถึง คุณสมบัติของพระภิกษุผู้สามารถ เป็นพระอุปัชฌาย์ให้อุปสมบทได้สามารถเป็นอาจารย์ให้นิสสัยได้ และสามารถให้สามเณรอุปัฏฐากได้ ซึ่งจัดอยู่ในคุณสมบัติที่ดีคนที่มีลักษณะนี้ควรได้รับการแต่งตั้ง 2. มาตรา 23 การแต่งตั้ง ถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการดำรงตำแหน่ง พระอุปัชฌาย์มีหน้าที่ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตน และเฉพาะภายในเขต ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม

References

กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ ข้อ 12. แถลงการณ์คณะสงฆ์. เล่ม 81 ตอนที่ 3. 25 มีนาคม 2536.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2559). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน). (2540). คู่มือพระอุปัชฌาย์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการดำเนินการฝึกซ้อมอบรมพระอุปัชฌาย์ส่วนกลาง.

พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2539). การบริหารพัฒนาวัด. ราชบุรี: โรงพิมพ์ บริษัท เอช ที พี เพรช จำกัด.

พระสุทิน อธิปญฺโญ และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพพระอุปัชฌาย์ของคณะสงฆ์ในจังหวัดชลบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 116-124.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร). (2531). อุปกรณ์วินัยมุข เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2542) คู่มือพระสังฆาธิการ และพระวินยาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม.

สุลักษณ์ ศิวรักษ์. (2538). สีกากับผ้าเหลือง. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite