การสนับสนุนจากสังคม ความคาดหวังในการมีบุตร และความเครียดของผู้มีบุตรยาก

ผู้แต่ง

  • วรารัตน์ ศรีพล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • งามลมัย ผิวเหลือง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การสนับสนุนจากสังคม, ความคาดหวัง, ความเครียด, ผู้มีบุตรยาก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการสนับสนุนจากสังคม ความคาดหวังในการมีบุตร และความเครียดของผู้มีบุตรยาก 2. ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากสังคมที่มีต่อความคาดหวังในการมีบุตร 3. ความเครียดของผู้มีบุตรยาก 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังในการมีบุตรและความเครียดของผู้มีบุตรยาก เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้มีบุตรยากที่เข้ารับบริการคลินิกมีบุตรยาก จำนวน 230 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกับตัวแปรอิสระตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้มีบุตรยากมีการสนับสนุนจากสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีความคาดหวังในการมีบุตรอยู่ในระดับมาก และมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง
2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ลักษณะครอบครัว ระยะเวลารอคอยบุตร และจำนวนครั้งที่พบแพทย์ การสนับสนุนจากสังคมแตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อความคาดหวังในการมีบุตรแตกต่างกัน 3. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านลักษณะครอบครัว และจำนวนครั้งที่พบแพทย์ การสนับสนุนจากสังคมด้านทรัพยากรและด้านอารมณ์แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อความเครียดแตกต่างกัน 4. ความคาดหวังในการมีบุตรมีความสัมพันธ์กับความเครียดทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งด้านสังคม ด้านความความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส ด้านปฏิเสธการดำเนินชีวิตที่ไม่มีบุตร ด้านความต้องการเป็นบิดา-มารดา และด้านความสัมพันธ์ทางเพศ

References

จารุวรรณ ก้าวหน้าไกล. (2555). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลครอบครัวในการดูแลคู่สมรสที่มีบุตรยาก. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียง เหนือ, 30(3), 6-15.

จีรเนาว์ ทัศศรี. (2545). ครอบครัวสัมพันธ์เล่มที่ 1. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

ดารินทร์ ศรีชุม และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดจากภาวะมีบุตรยากในสตรีที่มีบุตรยาก. วารสารพยาบาลทหารบก, 22(3), 453-461.

สมจิต หนุเจริญกุล. (2534). การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัท วิศิฏสิน.

สุรพงศ์ บางพาน. (2553). การควบคุมคุณภาพ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

Clapp, D. & Swenson, N. (1992). Infertility and pregnancy loss. New York: A Touchstone Book.

McBain, T.D. & Reeves, P. (2019). Women’s experience of infertility and disenfranchised grief. The Family Journal, 27(1), 156-166.

Phipps, K. (1993). Self-Development in Organization: Issues and Actions. Journal of Industrial Training, 17(5), 3-5.

Wasser, S.K. et al. (1993). Psychological stress as a cause of infertility. Fertility and Sterility, 59(1), 685-689.

Weiss, R. (1974). The provisions of social relationships. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Ying, L.Y. et al. (2015). The experience of Chinese couples undergoing in vitro fertilization treatment: perception of the treatment process and partner support. Retrieved August 10, 2023, From: https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0139691.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite