การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดของพระภิกษุวิกลจริตที่กระทำความผิดตามพระธรรมวินัยและความรับผิดของบุคคลวิกลจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65

ผู้แต่ง

  • พระมหาสำราญ ฐานุตฺตโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย
  • สมบัติ อรรถพิมล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิกลจริต, พระภิกษุ, กฎหมายอาญามาตรา 65

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากรณีพระภิกษุและคฤหัสถ์กระทำผิดอาญาขณะวิกลจริต 2. เพื่อศึกษาสภาพวิกลจริตของพระภิกษุและคฤหัสถ์ที่ทำให้พ้นจากความรับผิดทางวินัย และโทษทางอาญา 3. เพื่อศึกษากฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับความรับผิดของบุคคลวิกลจริตทางอาญาและกระบวนการทางกฎหมายบ้านเมือง การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. กรณีพระภิกษุและคฤหัสถ์กระทำผิดอาญาขณะวิกลจริต คนวิกลจริตไม่รู้สำนึกของการกระทำ แต่อาจเป็นอันตรายแก่บุคคลในสังคม สังคมไม่ปลอดภัย พบว่าผู้กระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต จิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ สำหรับความผิดนั้น หรือได้รับการลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 2. สภาพวิกลจริตของพระภิกษุและคฤหัสถ์ที่ทำให้พ้นจากความรับผิดทางวินัยและโทษทางอาญา คนผิดปกติทางจิตที่มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจโดยไม่ชักช้าเพื่อนำไปสู่การบำบัดรักษา 3. กฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับความรับผิดของบุคคลวิกลจริตทางอาญาและกฎหมาย กฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีลักษณะคล้ายกับประมวลกฎหมายอาญาของไทย ผู้กระทำผิดขณะวิกลจริตมีทั้งไม่ต้องรับโทษและได้รับการลดโทษ ศาลจะส่งตัวผู้วิกลจริตไปรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช

References

กรมสุขภาพจิต. (2566). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานนิติจิตเวช. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต.

เกียรติศักดิ์ พันธวงศ์. (2554). ศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผู้กระทำผิดในพุทธศาสนาเถรวาทกับประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณิต ณ นคร. (2525). กฎหมายอาญาภาคความผิด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนิษฐา มีสม. (2560). มาตรการทางกฎหมายอาญาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองคนวิกลจริต. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปลื้ม โชติษฐยางกูร. (2559). คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอุดม สารเมธี (สารบรรณ). (2546). การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมในพระพุทธศาสนาศึกษาเฉพาะกรณีนิคหกรรมในพระวินัยปิฎกกับกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม (วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นภาเพ็ญ โหมาศวิน. (2533). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของสมาชิกในองค์การศึกษาศึกษา เฉพาะกรณีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมิทธิพล เนตรนิมิต. (2553). ภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ในอริยวินัย: วิถีชีวิตและบทบาทของพระสงฆ์ (รายงานวิจัย) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สรวุฒิ เกษมสุข. (2560). ความผิดปกติทางจิตในกฎหมายอาญา : ศึกษาเฉพาะคำศัพท์นิยาม และการตีความทางกฎหมาย. นนทบุรี: สาขวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

หอมรดกไทย. (2566). กฎหมายพระสงฆ์ของไทย. สืบค้น 30 มกราคม 2566, จากhttp://thaiheritage.net/religion/misc/law.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite