การจัดสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
คำสำคัญ:
การจัดสมดุล, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลกับประชาชนในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 31 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนได้เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรู้จักรักหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน 2. ต้องมีการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด โดยเร่งกำจัดขยะมูลฝ่อยตกค้างสะสมในพื้นที่การป้องกันและลดความเสี่ยงจากอุบัติภัยสารเคมี 3. พัฒนาระบบประกันความเสี่ยงของโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ EEC ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชนน่าอยู่ ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง เพิ่มพื้นที่ดูดซับมลพิษทางอากาศ 4. สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในรูปแบบที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม เรื่องรายละเอียดของกฎหมายต่าง ๆ พื้นที่โซน EEC มีกฎหมายแยกออกมาจากกฎหมายปกติ จำเป็นต้องมีกฎหมายเฉพาะที่ออกมากำหนดรายละเอียดและหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความชัดเจน การวิเคราะห์ SWOT Analysis ด้านจุดแข็ง มีลักษณะที่ตั้งเหมาะสม รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม มีศักยภาพสูงในการเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม มีความพร้อมทางสาธารณูปโภค ประชาชนให้ความใส่ใจและตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม มีกลุ่มเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านจุดอ่อน คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่สามารถดำเนินการด้านการจัดการมลพิษจากการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบฐานข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติด้านโอกาส มีการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ ส่งเสริม ด้านข้อจำกัด มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
References
ชคัตตรัย รยะสวัสดิ์. (2559). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาพื้นที่ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม. วารสารราชพฤกษ์, 14(3), 42-48.
ชิสณุพงศ์ พงศ์สินโชติ และคณะ. (2560). การจัดการความรู้เชื่อมโยงกระบวนการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้สู่การจัดการดินและนำตามแนวพระราชดำริเพื่อเป็นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจของเครือข่ายป่าชุมชน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ณัฐพร ยงวงศ์ไพบูลย์. (2564). รูปแบบการจัดการอุตสาหกรรมเหล็กไทยสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1580-1593.
ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติ. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสามบัณฑิต: กรณีศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
นงนุช อักษรพิมพ์ และจุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการดำเนินงานระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001: 2015) และระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001: 2018) ของบริษัทจำหน่ายรถยกแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 18(2), 18-35.
พสิน โยธาจันทร์. (2562). มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของโรงงานอุตสาหกรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 357-380.
วิทวัส ขุนหนู และคณะ. (2563). การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนบ้านแหลมนาวเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 33-57.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้น จาก chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.nesdc.go.th/download/plan12/สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12.pdf
อภิญญา ดิสสะมาน. (2558). แนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยสันติวิธี. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11(2), 60-75.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น