ความสัมพันธ์ระหว่าง ความพึงพอใจในภาวะการเงิน รายได้ การออม และหนี้สิน กับความสุขของแรงงานสูงอายุไทย
คำสำคัญ:
ความพอใจต่อภาวะการเงิน, ความสุข, แรงงานสูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการเงินที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของแรงงานสูงอายุไทย โดยงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้ชุดข้อมูลจากการสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 43,547 คน โดยในกลุ่มนี้มีผู้ที่ทำงาน จำนวน 15,798 คน การวิเคราะห์ใช้วิธีการประมาณค่าแบบสองขั้นตอน เพื่อเป็นการลดอคติของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้เลือก (Heckman selection model) โดยในขั้นตอนแรก ใช้ probit regression เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำงาน และขั้นที่สองเป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของแรงงานสูงอายุไทย
ผลการศึกษาพบว่า 1. เมื่อมีการวิเคราะห์ความสุขกับความพึงพอใจในภาวะการเงิน พบว่า ในกรณีที่ควบคุมตัวแปรความพึงพอใจในภาวะการเงิน ไม่ว่าแรงงานสูงอายุจะมีรายได้เท่าไรก็มีระดับของความสุขที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ในขณะที่เมื่อไม่ได้นำเรื่องความพึงพอใจในภาวะการเงินมาวิเคราะห์ร่วมด้วย พบว่า ยิ่งแรงงานสูงอายุมีรายได้เพิ่มขึ้นยิ่งทำให้แรงงานสูงอายุมีความสุขเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ 2. เมื่อมีการวิเคราะห์ความสุขกับความพึงพอใจในภาวะการเงิน พบว่า ในกรณีที่ควบคุมตัวแปรความพึงพอใจในภาวะการเงิน แรงงานสูงอายุที่มีการออมในระดับ 200,000 - 399,999 บาท มีความสุขมากกว่าแรงงานสูงอายุที่ไม่มีการออม อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ในขณะที่เมื่อไม่ได้นำเรื่องความพึงพอใจในภาวะการเงินมาวิเคราะห์ร่วมด้วย พบว่า แรงงานสูงอายุที่มีการออมในระดับเงินออมที่ต่ำกว่า 25,000 บาท และระดับเงินออมที่ 50,000 - 399,999 บาทมีความสุขมากกว่าแรงงานสูงอายุที่ไม่มีการออม อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926
เกสินี หมื่นไธสง และคณะ. (2560). การเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในความสุขของประชาชนเขตเมืองและชนบท จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(6), 63-76.
จิตนภา ฉิมจินดา. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดนครปฐม (พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
รศรินทร์ เกรย์ และคณะ, (2553). ความสุขเป็นสากล. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุภนารี วรรณพงษ์ และจงรักษ์ หงษ์งาม. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 5(2), 21-32.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Diener, E. et al. (2003). Personality, Culture, and Subjective Well-Being: Emotional and Cognitive Evaluations of Life. The Annual Review of Psychology, 54(1), 403-425.
Dunn, E. & Courtney, C. (2020). Does More Money Really Make Us More Happy? Retrieved February 2024, 19, from https://hbr.org/2020/09/does-
Gray, R. et al. (2008). The determinants of happiness among Thai people: Some evidence from Chai Nat and Kanchanaburi. Thammasat Economic Journal, 26(2), 72-87.
Gray, R. & Kramanon, R. (2007). A feeling of self-sufficiency and happiness among Thai people. Retrieved February 2024, 22, from https://www.happysociety.org/ppdoconference/session_papers/
Heckman, J. J. (1979). Sample selection bias as a specification error, Econometrica. Journal of the Econometric Society, 47, 153-161.
Jantsch, A. & Veenhoven, R. (2021). Happiness and personal wealth -- an updated research synthesis using online findings archive. Retrieved February 2024, 20, from https://www.researchgate.net/publication/
Killingsworth, M. (2021). Experienced well-being rises with income, even above$75,000 per year. Retrieved February 2024, 22, from https://www.pnas.org/doi/epdf/10.1073/pnas.2016976118
Layard, R. (2002). Happiness: has social science a clue. Retrieved February 2024, 14, from https://www.researchgate.net/publication/
Liu, Z., et al. (2023). The Impact of Household Debt on the Health of the Elderly in China: Evidence from China Family Panel Studies. International Journal of Environmental Research and Public Health, 20(4), 1-21.
Qiao, Y. & Cai, Y. (2021). Financial assets and happiness: evidence from the China Household Finance Survey. Retrieved February 2024, 22, from https://www.researchgate.net/publication/355481885_Financial_assets
Sun, Y. (2023). Happiness and mental health of older adults: multiple mediation analysis. Frontiers in Psychology Journal, 14, 1-8.
Veenhoven, R., Diener, E., Helliwell, J. F. & Kahneman, D. (2010). How universal is happiness? International differences in well-being. New York: Oxford University Press.
Will, S. & Renz, T. (2022). In Debt but Still Happy? – Examining the Relationship Between Homeownership and Life Satisfaction. Retrieved February 2024, 20, from https://www.econstor.eu/bitstream
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น