ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน ในเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ ยะคำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การเลือกตั้งท้องถิ่น, ประชาชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน และ
3. นำเสนอแนวการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนในเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 393 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ได้แก่ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา 3 รูป นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ 3 คน และนักการเมืองท้องถิ่น 3 คน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน พบว่า ปัจจัยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้านวัฒนธรรมทางการเมือง ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนในเทศบาลตำบลทับมา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 3. แนวการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน ตามหลักสัปปุริสธรรม พบว่า 1. รู้จักเหตุ นักการเมืองท้องถิ่นต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหาท้องถิ่น 2. รู้จักผล นักการเมืองต้องรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน 3. รู้จักตน นักการเมืองและประชาชนต้องมีความรับผิดชอบต่อกัน 4. รู้จักประมาณ ไม่กระทำในสิ่งที่เกินกำลังของตนเอง 5. รู้จักกาลเวลา ช่วยเหลือประชาชนเมื่อมีทุกข์อย่างเต็มท่า 6. รู้จักชุมชน นักการเมืองต้องเข้าใจคนในแต่ละชุมชนถึงความเด่น ความด้อย จุดที่ต้องส่งเสริมเพื่อพัฒนาชุมชน 7. รู้จักบุคคล นักการเมืองท้องถิ่นต้องให้ความเคารพพระผู้ใหญ่

References

จิรพันธุ์ วิสูตรศักดิ์. (2547). การดำเนินงานตามบทบาทขององค์การบริการส่วนตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาในการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรา เพ็ชรจรูญ. (2553). เหตุผลประกอบการตัดสินใจเลือกนายกเทศมนตรีของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพระอินทราชา อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุภณัฐ เจริญสุข. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สนุก สิงห์มาตร. (2556). พฤติกรรมทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองในจังหวัดร้อยเอ็ด (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบันฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุวรรณ์ แก้วนะ. (2564). การพัฒนาคุณลักษณะตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องอาจ จัตุกูล. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน เขตเทศบาลตำบลหนองแวงอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อุบล ตินะโส และคณะ. (2556). พฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธ์. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 2(2), 97-113.

Bryan, S.T. (2000). Contemporary problems in citizenship Citizenship and Social Theory. London: Sage Publications Ltd.

Yamane, T. (1973). statistics: an introductory analysis. (3rd ed.). New York: New York: Harper& Row

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite