การเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ที่ตั้งอยู่ในเมืองมรดกโลก : กรณีศึกษาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการของตำบลภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุมาลี บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประณต นันทิยกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อนุภูมิ โซวเกษม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พื้นที่เชิงสร้างสรรค์, เศรษฐกิจ, สังคม, เครือข่าย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ที่ตั้งอยู่ในเมืองมรดกโลก กรณีศึกษาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของตำบลภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บขอมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 รูปหรือคน การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาวิเคราะห์เนื้อหา

พบว่า การพัฒนาด้านการผลิต การพัฒนาด้านวัตถุดิบ การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และการพัฒนาด้านระบบการตลาด โดยมีกระบวนการการวางแผนมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของงานส่งเสริมกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านการสานปลาตะเพียนใบลาน รวมทั้งการร่วมดำเนินการ การร่วมติดตามประเมินผล การร่วมรับผลประโยชน์ การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการรายย่อยมีประโยชน์มากต่อตัวผู้ประกอบการเองเช่นเกิดมีสังคมในกลุ่มผู้ประกอบการกันเองมีเพื่อนผู้ประกอบการในกลุ่มช่วยกันคิดก่อให้เกิดพลังอำนาจการต่อรองเพราะมีเพื่อนสมาชิกช่วยสนับสนุนและเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ที่ตั้งอยู่ในเมืองมรดกโลก โดยการยกระดับผลิตภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการตามระบบมาตรฐานการผลิตสินค้าปลาตะเพียนใบลานโดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ผู้ประกอบการในการผลิตสินค้าอย่างมีระบบ

References

กรวรรณ รุ่งสว่าง. (2556). การวิเคราะห์สถานภาพการเป็นเมืองสร้างสรรค์กรณีศึกษาชุมชนเมืองขอนแก่น ราชบุรีและบางแสน (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พจน์มาศ ไชยสุระภวัฒน์. (2558). บทบาทของตลาดนัดกับการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ (วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนภาคและเมือง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พีรดร แก้วลาย และทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า. (2566). เมืองสร้างสรรค์: แนวทางการพัฒนาเมืองจาก สินทรัพย์สร้างสรรค์ท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: บ.จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

มิ่งขวัญ คงเจริญ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์), กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. (2553). ทุนความคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไว้ลาย.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2560). ถอดรหัสย่านสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บริษัท ผัสสะ อินสตอลเลชัน อาร์ต จำกัด.

สุจิตราพร โพธิ์ประดิษฐ์. (2558). หัตถกรรมการสานใบลานปลาตะเพียน: กรณีศึกษาชาวบ้านตำบลท่าวสุกรี และตำบลภูเขาทองอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา สาขาวิชาศิลปะศาสตร์). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Borchardt, A. (2013). The Creative City: Place, Creativity & People, Glasgow and Portland. London: Penguin.

Landry, C. (2008). The Creative City: A Toolkit for Urban Innovators. London: Earthscan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-02

How to Cite