การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำ ของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูวิโรจน์กาญจนเขต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์, ส่งเสริมภาวะผู้นำ, นักการเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมสำหรับส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 13 รูปหรือคน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์หลักพุทธธรรมส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนนทบุรี 1. ด้านอำนาจ อิทธิพลของผู้นำ แสดงภาวะผู้นำทางการเมืองยอมรับความคิดเห็นที่แตกแตกต่างน้อมนำทศพิธราชธรรมมาใช้มีการจัดทำนโยบาย การแสดงความคิดเห็นในฐานะผู้แทนประชาชนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชน 2. ด้านพฤติกรรมของผู้นำ มุ่งสร้างผลงานทางการเมืองใช้กิจกรรมทางการเมืองสะท้อนความเป็นผู้นำทางการเมือง สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น มุ่งงานจัดทำแผนงาน นโยบายเพื่อให้ประชาชนส่วนมากได้รับผลประโยชน์ นำธรรมะผสมผสานกับการทำกิจกรรมทางการเมืองโดยเริ่มต้นจากการนำหลักทศพิธราชธรรมมาประยุกต์ใช้กับการทำกิจกรรมทางการเมือง 3. ด้านคุณลักษณะของผู้นำ ภาพลักษณ์นักการเมืองต้องมีความกล้าตัดสินใจ มีจุดยืนของตนเอง กล้าเผชิญกับความจริง กล้าเปิดเผยความจริงไม่เน้นประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองด้วยทุ่มเท 4. ด้านสถานการณ์ของผู้นำ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักคน รู้จักคิด รู้จักงาน และรู้จักพัฒนาวิสัยทัศน์ รู้จักพันธกิจที่ต้องรับผิดชอบแล้ว ยังต้องยอมรับความเห็นต่าง จะต้องรู้จักการประนีประนอม การตัดสินใจด้วยทักษะและความรอบคอบ มีความชำนาญในการบริหารท้องถิ่น

References

กิตติภูมิ นามวงค์. (2560). บุพปัจจัยทางการเมืองและอำนาจฝ่ายบริหารที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง : กรณีศึกษาจังหวัดลำปาง (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชิตชนก สมประเสริฐ. (2558). บทบาททางการเมืองของสภาเกษตรกรไทย (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2532). ปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระมหาอมร มหาลาโภ. (2561). ทศพิธราชธรรมกับการปกครองของไทยในปัจจุบัน. วารสารวิชาการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 1(2), 32-42.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2564). ความเป็นผู้นำทางการเมือง. สืบค้น 29 ธันวาคม 2564, จาก https://mgr online.com/daily/detail/9500000029811.

วุฒิสาร ตันไชย.(2548). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

อุดม ทุมโฆษิต. (2550). การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่: บทเรียนจากประเทศพัฒนาแล้ว. กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2552). แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน : สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite