การส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองและพุทธธรรมส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูวิโรจน์กาญจนเขต วัดอุทยาน, นนทบุรี

คำสำคัญ:

การส่งเสริมภาวะผู้นำ, พุทธธรรม, ผู้นำทางการเมือง, จังหวัดนนทบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ปัญหาและอุปสรรค 2.เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งผลต่อการส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 13 รูปหรือคน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา การวิจัยเชิงปริมาณ แจกแบบสอบถามกับ บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีจำนวน จำนวน 384 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ

ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพทั่วไป มีดังนี้ 1. จุดเด่น ผู้นำทางการเมืองพยายามทำกิจกรรมทางการเมือง 2. จุดด้อย มีภาพนักการเมืองขาดความเป็นธรรม 3. โอกาส มีการส่งเสริมคุณธรรมผู้นำ 4. อุปสรรค บริหารงานได้ยากอยู่ในอำนาจของกลุ่มทุนเพราะขาดอุดมการณ์ 2.หลักพุทธธรรมส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมือง ประกอบด้วย 1. ทาน ต้นแบบของการเสียสะ 2. ศีล เสริมสร้างภาวะผู้นำทางการเมือง 3. ปริจจาคะ ปั่นบริจาคทรัพย์ 4. อาชวะ แสดงพฤติกรรมชื่อตรงและสุจริต 5. มัททวะ มีความโอบอ้อมอารี 6. ตปะ ผู้นำทางการเมืองให้มีการพัฒนาจิตใจ 7.อักโกธะ ผู้นำทางการเมืองการให้อภัย 8. อวิหิงสา ไม่เอารัดเอาเปรียบ 9. ขันติ มีความอดทน 10. อวิโรธนะ ส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองมีความเที่ยงธรรม และผลการวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมภาวะผู้นำ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ( equation = 3.86, S.D. = 0.66) เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทุกข้อ

References

จรัส สุวรรณมาลา. (2550). วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 5(3), 83 - 106.

ชุติมา รักษ์บางแหลม. (2559). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม : หนทางสู่การขับเคลื่อนภาวะผู้นำในสถาบันการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(1), 168 - 181.

ณัฐพล ใจจริง. (2564 ) นักการเมืองท้องถิ่น. สืบค้น 22 ธันวาคม 2564, จาก http://www.phothong101.go.th/index.php/d/q/40-q9

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การเมืองท้องถิ่น: การเมืองของใครโดยใครเพื่อใคร. กรุงเทพฯ: จตุพรดีไซด์.

รัฐธรรมนูญ เทศแก้ว. (2561). ภาวะผู้นำในทศพิธราชธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 4(2), 64 - 73.

เวียงรัฐ เนติโพธิ์. (2551). การกระจายอำนาจกับแบบแผนใหม่ของเครือข่ายอิทธิพล ใน ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (บรรณาธิการ). ก้าว (ไม่) พ้นประชานิยม: กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์.

สิบทิศ วุฒิชาติ. (2557). ภาวะผู้นำด้านการเลือกตั้งกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กร แนวธรรมาภิบาลอัจฉริยะเพื่อการเสริมสร้างประชาธิปไตย ที่มีเสถียรภาพในอนาคตของประเทศไทย: ศึกษากรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด (กกต.จว.). วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 10(1), 121 - 130.

อภิชาต สถิตนิรามัย. (2555). รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-02

How to Cite