การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูวิมลสุวรรณกร (สมพงษ์ จนฺทวโร) วัดกู้ จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, ความนิยมทางการเมือง, ผู้บริหารเทศบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 399 คน ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนประกอบด้วย 1. ด้านค่านิยมเล็งผลประโยชน์ ผู้บริหารเทศบาลวางแผนการทำประโยชน์ ศึกษาปัญหา รับฟังปัญหาของพื้นที่ 2. ด้านความนิยมสถานะทางสังคม ผู้บริหารเทศบาลมีสถานะทางการเงินที่ดี 3. ด้านการกล่อมเกลาทางการเมือง การสื่อสารกับประชาชน ผู้บริหารเทศบาลติดบอร์ดให้ความรู้ความเข้าใจ 4. ด้านลักษณะนิสัยของผู้บริหารเทศบาล เป็นผู้มีลักษณะชอบช่วยเหลือประชาชน ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา 5. ด้านความรู้ความสามารถพิเศษของผู้บริหารเทศบาล มีความสามารถในการบริหาร การปกครอง 6. ด้านมีประสบการณ์ทางการเมือง เคยเป็นผู้บริหารเทศบาล มีความรู้ มีประสบการณ์ทางการเมือง 7. ด้านความสัมพันธ์กับเครือข่าย เป็นผู้มีเครือข่ายกับชุมชน มีความสัมพันธ์กับผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อผู้บริหารเทศบาล หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมทางการเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ทิฏฐิสามัญญตา มีผลมากที่สุด รองลงมาได้แก่ สีลสามัญญตา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลกับความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งมีระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านอุดมการณ์ของพรรค รองลงมา คือ ด้านกลไกการบริหารงานของพรรคการเมือง

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2543). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ชนกนาถ พูลสวัสดิ์. (2554). ความนิยมทางการเมืองพรรคการเมืองในสังคมไทย ศึกษาเปรียบเทียบพรรคประชาธิปัตย์ในสงขลาและตาก. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 4(3), 171-200.

ถวิลวดี บุรีกุล และรัชวดี แสงมหะหมัด. (2557). ค่านิยม วัฒนธรรมและอุณหภูมิ ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์.

ธาตรี มหันตรัตน์. (2559). นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 3(2), 49-54.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2549). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy). กรุงเทพฯ: ศูนย์สันติวิถีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระทรงวุฒิ รัตนะ. (2563). การกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(1), 44-53.

พระประเสริฐ เตชโก (ชาภักดี). (2563). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้นำทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และนพพล อัคฮาด. (2557). ความนิยมของคนอีสานที่มีต่อพรรคเพื่อไทย : ศึกษากรณีจังหวัดขอนแก่น. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(1), 76-100.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และนพพล อัคฮาด. (2558). การศึกษาการเมืองถิ่นและนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(1), 23-48.

สะถิระ เผือกประพันธุ์. (2558). ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ของนักการเมืองท้องถิ่นมีผลต่อการสื่อสารทางการเมืองท้องถิ่นมีผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของประชาชน : กรณีศึกษาการปกครองท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 7(1), 181-208.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี. (2565). จำนวนสิทธิ์เลือกตั้งสืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://Www.Ryt9.Com/S/Refg/13434

อภิชัย พันธเสน. (2539). พัฒนาชนบทไทย : สมุทัยและมรรค แนวคิด ทฤษฎีและภาพรวมของการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-14

How to Cite