การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในความเป็นพลเมืองดีของประชาชนจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, หลักสาราณียธรรม 6, การกล่อมเกลาทางการเมือง, ความเป็นพลเมืองดีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ความเป็นพลเมืองดีของประชาชน จังหวัดนนทบุรี 2. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดีของประชาชนจังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนจังหวัดนนทบุรี มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ด้วยการวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยและ เฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นพลเมืองดีของประชาชนจังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 ประชาชนเคารพความเสมอภาค มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีวินัย เคารพกฎหมาย กติกา และ ยอมรับความแตกต่าง 2. การบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักสาราณียธรรม 6 ประการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ประชาชนแสดงออกด้วยความสุภาพ แนะนำด้วยความหวังดี ปรารถนาดีต่อกัน รับผิดชอบต่อสังคม เคารพระเบียบ มีทัศนคติตรงกัน
References
กรณัฐ ระงับทุกข์. (2564). การพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปในกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2566). ประชากรทะเบียนราษฎร์ จำแนกรายเพศ ปีงบประมาณ 2566 นนทบุรี. สืบค้น สืบค้น 10 เมษายน 2567, จาก https://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/changwat?year=2023&cw=12.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2567). การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย. สืบค้น สืบค้น 10 เมษายน 2567, จาก https://www.dla.go.th/
work/e_ book/eb7/eb7_4/p1.pdf.
กลุ่มแผนงานและวิชาการ ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2562 ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. นนทบุรี : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2562). ปรัชญาทางสังคมแห่งพระพุทธศาสนา. นนทบุรี: หจก.นิติธรรมการพิมพ์.
จุฑามาศ ช่อคง. (2556). การสร้างแบบวัดความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1), 23-36.
ไชยันต์ ไชยพร. (2561). ปิยกษัตริย์: เส้นทางสู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเดนมาร์ก 1849. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา.
ณัชชาภัทร อมรกุล. (2567). การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. สืบค้น 10 เมษายน 2567, จาก https://www.kpi.ac.th/.
ธงทอง จันทรางศุ. (2550). พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค จำกัด.
นุชจรินทร์ ยีรัมย์. สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และกมลทิพย์ ศรีหาเศษ. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. Veridian E-Journal. Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 1625–1640.
พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช). (2556). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(1), 46 - 63.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2567). แนวโน้มบทบาทพระสงฆ์กับการเมืองไทยในสองทศวรรษหน้า (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธนา ประณีต. (2565). พฤติกรรมทางการเมืองของพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(3), 225 - 233.
รสสุคนธ์ มกรมณี. (2556). พฤติกรรมความเป็นพลเมืองของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนา, 5(1), 74 –84.
ศิริพงษ์ อรุณเดชาชัย ศักดิ์พงศ์ หอมหวล และประภัสสร ปรีเอี่ยม. สถานีสาราณียธรรม: พื้นที่ บ่มเพาะความรู้ชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 183-195.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สหายบล็อกและการพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น