การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นสำหรับการพัฒนาชุมชนในเทศบาลตำบลจักราช จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระพีระฉัตร พฺรหฺมสโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย
  • พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, นักการเมืองท้องถิ่น, การพัฒนาชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นสำหรับการพัฒนาชุมชน 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นกับหลักพละ 4 3. นำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นสำหรับการพัฒนาชุมชน การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเทศบาลตำบลจักราช จำนวน 354 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดย โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาตัวแทนผู้ปกครองท้องที่ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ตัวแทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นต่อบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นสำหรับการพัฒนาชุมชนในเทศบาลตำบลจักราช จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation =4.13) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านบทบาทในอุดมคติ (equation =4.16) รองลงมา คือ ด้านบทบาทที่บุคคลเข้าใจหรือรับรู้ (equation =4.12) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านบทบาทที่แสดงออกจริง (equation =4.11) 2. ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นกับหลักพละ 4 โดยรวม มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง (r= 0.778**) 3. นำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นสำหรับการพัฒนาชุมชนตามหลักพละ 4 ได้แก่ ปัญญาพละ มีความรู้ความสามารถในกิจการงานที่ทำอย่างถูกต้อง ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง วิริยพละ มีความขยันหมั่นเพียรต่องานที่รับผิดชอบ มุ่งมั่นพัฒนาเรียนรู้ ขยันขันแข็ง พัฒนาชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ อนวัชชพละ ทำงานอย่างมีความตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความโปร่งใสในการบริหารงาน ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง สังคหพละ มีน้ำใจไมตรีต่อประชาชนรู้จักช่วยเหลือประชาชนเมื่อประชาชนได้รับความลำบาก รู้จักช่วยเหลือ มีความเอื้อเฟื้อ ซึ่งกันและกัน

References

เกศสุดา โภคานิตย์ และกีฬา หนูยศ. (2560). บทบาทผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ . วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5(1), 66-77.

เทศบาลตำบลจักราช. (2566). ประวัติเทศบาลตำบลจักราช จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: เทศบาลตำบลจักราช.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2546). ทิศทางการปกครองท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

พระครูใบฎีกาเขมปัตถ์ สุทฺธิธมฺโม (พิชญกิตติกุล). (2565). การบริหารการพัฒนาตามแนวทางของหลักพละ 4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มหาจุฬาวิชาการ. 9(3), 250-261.

พระลิขิต สุเขฐิโต (สอนมา) และคณะ. (2565). การประยุกต์ใช้หลักพละธรรม 4 ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดหัวถนน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(2), 937–938.

พระศกลวัธน์ จิตฺตปญฺโญ. (2563). บทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนาดอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รวีวรรณ ฉิมพลี. (2566). สถิติประชากรเทศบาลตำบลจักราช. นครราชสีมา: เทศบาลตำบลจักราช.

อนุจิตร ชิณสาร. (2564). การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศด้านความโปร่งใส และ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชน วิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 15(1), 84-85.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2550). ประชาธิปไตยท้องถิ่น: แง่คิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะในระดับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-02

How to Cite