การพัฒนาบทเรียนนาโนเลิร์นนิงร่วมกับห้องเรียนกลับด้านและกิจกรรมแบบเน้นภาระงาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ปรีชา เสนานิมิตร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กอบสุข คงมนัส มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

บทเรียนนาโนเลิร์นนิง, ห้องเรียนกลับด้าน, กิจกรรมแบบเน้นภาระงาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนนาโนเลิร์นนิงร่วมกับห้องเรียนกลับด้านและกิจกรรมแบบเน้นภาระงาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง โครงสร้างประโยคซับซ้อน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้ใช้บททเรียนนาโนเลิร์นนิงร่วมกับห้องเรียนกลับด้านและกิจกรรมแบบเน้นภาระงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ปีการศึกษา 2566 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. บทเรียนนาโนเลิร์นนิง เรื่อง โครงสร้างประโยคซับซ้อน 2. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างประโยคซับซ้อน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. แบบทดสอบวัดผล การเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า (T-Test) แบบ Dependence

ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนนาโนเลิร์นนิงเป็นคลิปวิดีโอมีระยะเวลาไม่เกิน 3 นาที ง่ายต่อการศึกษาและทบทวนความรู้ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่าย จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับห้องเรียนกลับด้านและกิจกรรมแบบเน้นภาระงาน บทเรียนมีประสิทธิภาพ 83.75/82.92 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้ใช้บทเรียนนาโนเลิร์นนิงร่วมกับห้องเรียนกลับด้านและกิจกรรมแบบเน้นภาระงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.44.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิราภา อ่ำแจ้ง และวิสาข์ จัติวัตร์. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเน้นภาระงานโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือและ ทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารร้อยแก่นสาร, 6(6), 1-19.

เชรษฐรัฐ กองรัตน์. (2564). ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom): การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคความปกติถัดไป (Next Normal) Flipped Classroom: Thai Language Learning Management to Develop Learners in the Next Normal Era. วารสารราชพฤกษ์, 20(2), 1–15.

ณัฐกิตติ์ นาทา. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน : แนวคิดเพื่อการพัฒนาทักษะทางภาษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(5), 182-202.

เทพสุดา แพงจันทร์ศรี, (2566). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนย่อความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(11), 55-69.

นภดล เลือดนักรบ, สุภาณี เส็งศรี และพิศิษฐ์ พลธนะ. (2560). ICT: เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(1), 70-80.

พัชรินทร์ บุตรสันเทียะ. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด Task Based Learning ร่วมกับคำถามของบลูม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรินทร์ สิทธิภูมิ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้ภาษาไทย และคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 14(1), 153-167.

พิมลพัฒร์ ศรีสุวรรณ์ และกอบสุข คงมนัส. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบพอดีคำเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(8), 671-683.

พิศิษพงษ์ นาคภู่. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับแอปพลิเคชันสำหรับเรียนรู้ผ่านวิดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Edpuzzle) (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วัชรีญา วงษ์สุวรรณ, (2562). การจัดการเรียนรู้ด้านการเขียนแสดงความคิดเห็นแบบเน้นภาระงานเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทย (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite