การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การประยุกต์หลักพุทธธรรม, การส่งเสริม, การมีส่วนร่วมทางการเมืองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. นำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมสำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด 2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทุบรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่ม จำนวน 19 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี พบว่า 1.ด้านการออกเสียงเลือกตั้ง ประชาชนมีความกระตือรือร้นในการทำงานเพื่อส่วนร่วม 2.ด้านการดำเนินการเลือกตั้ง ประชาชนมีส่วนร่วมในการสังเกตุการณ์ อุทิศตนเพื่องานด้วยการเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง 3.ด้านการรณรงค์เลือกตั้ง ประชาชนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการรณรงค์เลือกตั้ง เสียสละเวลาในการร่วมรณรงค์แจกในปลิวเลือกตั้ง 4.ด้านการเลือกตั้ง ประชาชนให้ความสำคัญในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกครั้ง เคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้สมัครและผู้เลือกตั้ง 5.ด้านการตัดสินใจทางการเมือง ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจทางการเมืองด้วยการร่วมปฏิเสธกฎหมายเลือกตั้งที่ไม่ยุติธรรมด้วยวาจาที่ไพเราะ อุทิศตนเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
References
นันทนา นันทวโรภาส. (2563). สื่อสารการเมือง: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แมสมีเดีย.
ปิยะฉัตร ใหม่แก้ว. (2552). รูปแบบ เนื้อหา วิธีการนำเสนอ และวาทกรรมในรายการเปิดบ้านพิษณุโลก (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพวรรณ ปุริมาตร. (2563). พลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2540). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วรัญญา ประเสริฐ. (2560). การสื่อสารทางการเมืองในรายการนายกฯ พบประชาชน. ใน บทความฉบับเต็ม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตวิทยาลัย ระดับชาติและนานาชาติ (หน้า 12-25). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิทยา จิตรมาศ และคณะ. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน: กรณีศึกษาการเลือกตั้งนายกหรือสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัดนนทบุรี. (2563). สถิติการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 - 2563. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัดนนทบุรี.
เสถียร เชยประทับ. (2540). การสื่อสารกับการเมือง: เน้นสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสมอ จุ่นเจริญ. (2547). ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
เสรี วงษ์มณฑา. (2540). การประยุกต์ทฤษฎีในการสื่อสาร ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Deutsch, K. W. (1965). The nerves of government: Models of political communication and control (with a new introduction). New York: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น