ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • วิรัช แสงโชติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศุภพัชร์พิมล สิมลี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เกวลิน ศีลพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง, ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย, พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความร่วมมือในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งประเด็นปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนปัจจัยสนับสนุนของความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน ประกอบด้วยข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองในคณะกรรมาธิการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีความรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระดับชำนาญการขึ้นไป ตลอดจนศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยและมาเลเซียมีความร่วมมือทางความมั่นคงมาตั้งแต่ช่วงก่อนที่มาเลเซียจะได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ปัญหาความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องความเป็นเอกราชของปัตตานีได้เริ่มก่อตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2556 ได้เริ่มกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ
อย่างเป็นทางการและมีมาเลเซียทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกและประสานงานในด้านต่าง ๆ สำหรับปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือระหว่างสองประเทศมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น มุมมองทางประวัติศาสตร์ บทบาทและการวางตัวของผู้อำนวยความสะดวก สำหรับปัจจัยสนับสนุนของความร่วมมือโดยเฉพาะในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขมีหลายปัจจัย เช่น การแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างเป็นทางการของผู้นำประเทศไทยและมาเลเซีย และฝ่ายที่สามในกระบวนการพูดคุยควรได้รับความเชื่อใจและการยอมรับจากคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย 

References

คณะทำงานสร้างพื้นที่สันติภาพจากคนใน. (2557). เราจะทำให้กระบวนการสันติภาพเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร? กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล. (2562). มหาเธร์ โมฮัมหมัด: ไม่เชื่อมั่นในหลักการใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาชายแดนใต้. สืบค้น 1 มีนาคม 2567, https://www.bbc.com/thai/ thailand-45979411.

ทีมงานเลขานุการคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. (ชุดเดิม). (2562). กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต.: ความท้าทายของการต่อสู้ทางความคิดตามแนวทางสันติวิธีในทัศนะของผู้ปฏิบัติงานจริง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เมจิก แอนด์ พิคเซลเวิคส์ สตูดิโอ.

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตศิกจ์ และกาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ: การจัดการข้อมูล การตีความหมาย และการหาความหมาย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ และฆอซาลี อาแว. (2565). บทบาทนานาชาติในกระบวนการสันติภาพและข้อสังเกตบางประการต่ออนาคตชายแดนใต้. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 20(3), 117-133.

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. (2567). สรุปเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้น 1 มีนาคม 2567, จาก https://deepsouthwatch.org/th.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2557). คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ประกาศฉบับลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557/เลขที่คำสั่ง 230/2557). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุรชาติ บำรุงสุข. (2547). ปัญหาความมั่นคงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เสนาะ พรรณพิกุล. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 2(2), 15-27.

อดิศักดิ์ ประชากิตติกุล. (2560). แนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศมาเลเซียในการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

อาภัสรา เฟื่องฟู. (2555). กระบวนการพูดคุยสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้: บทเรียนจากต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันต่างประเทศ เทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 17-29.

Appleton, J. V. (1995). Analyzing qualitative interview data: Addressing issues of validity and reliability. Journal of Advanced Nursing, pp. 22, 993–997.

Hair, J. F., Bush, R. P., & Ortinau, D. J. (2003). Marketing research. New York: McGraw-Hill Higher Education.

Holloway, I., & Wheeler, S. (2002). Qualitative research in nursing. Oxford: Blackwell Science.

Jitpiromsri, S., & McCargo, D. (2010). The southern Thai conflict lasted six years: Insurgency, not just crime. Contemporary Southeast Asia A Journal of International and Strategic Affairs, 32(2), 156–183.

Rosenau, J. N. (1969). Linkage Politics: Essay on the convergence of national and international Systems. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-02

How to Cite