ผลการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • รมณียา ณ สงขลา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กันตวรรณ มีสมสาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปุริมปรัชญ์ คณิณพศุตย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลอง, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพัฒนาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยในภาพรวมและรายด้านระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลอง และ 2. เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลอง กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กชายและเด็กหญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนเทศบาลเมืองสิงหนคร 1 (บ้านยางงาม) จำนวน 15 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. คู่มือและแผนการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลอง 2. แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้สถานการณ์ และ 3. แบบสังเกตพัฒนาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบเครื่องหมายของวิลคอกซัน

ผลวิจัยพบว่า 1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองมีพัฒนาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณในภาพรวมและรายด้านสูงขึ้น ได้แก่ ด้านการสังเกตและรับรู้ ด้านการรวบรวมข้อมูล ด้านการพิจารณาไตร่ตรองข้อมูล ด้านการตัดสินใจและบอกเหตุผล และ 2. เด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองมีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กันตวรรณ มีสมสาร. (2562). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการคิด. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาแนวการพัฒนาเด็กปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณี . (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนเทศบาลเมืองสิงหนคร 1 (บ้านยางงาม). (2565). ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2565. สงขลา: โรงเรียนเทศบาลเมืองสิงหนคร 1 (บ้านยางงาม).

สุดา เจ๊ะอุมา. (2555). ผลการใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อความสามารถในการคิดย้อนกลับตามทฤษฎีของเพียเจท์ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 263-275.

ศิริพร ศรีจันทะ และธีรศักดิ์ อุปรมัย อุปไมยอธิชัย. (2564). 179 วิธีรวมสูตรการสอน ฉบับกระเป๋า. กรุงเทพฯ : บริษัท กู๊ดเฮด พริ้นติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2552). สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สุภาวดี หารเมธี และคณะ. (2562). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ : มติชน.

อัครพล ไชยโชค. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ประกอบผังกราฟิกสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(1), 16-17.

Horadol, A. (2020). Fundamentals of early childhood learning and thinking: the instructional document Develop early childhood thinking. Nonthaburi: The Office of the University Press Sukhothai Thammathirat Open University (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite