การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพลธรรมของผู้บริหาร เทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระพุทธพร พุทฺธวโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รัฐพล เย็นใจมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • หัฏฐกรณ์ แก่นท้าว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ภาวะผู้นำ, หลักพลธรรม, ผู้บริหาร, เทศบาลเมืองลำตาเสา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลเมืองลำตาเสา 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพลธธรรมกับการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลเมืองลำตาเสา และ 3. ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพลธรรมของผู้บริหารเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้บริหาร และบุคลากรของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 133 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาล พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพลธรรมกับการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาล พบว่า หลักพลธรรมกับการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร ภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง 3. ปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพลธรรมของผู้บริหารเทศบาล คือ บุคลากรขาดมนุษยสัมพันธ์ ขาดการสื่อสารที่ดี มีปัญหาด้านอารมณ์ และขาดความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง ยึดมั่นในสิ่งที่เคยเป็นแบบเดิม ๆ ไม่เชื่อมั่นในตนเอง และไม่กล้าตัดสินใจ ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารควรใช้หลักพลธรรม 4 ด้าน ในการบริหารงานและคนอันประกอบด้วย 1. ปัญญาพละ การพัฒนาตนเอง เรียนรู้วิธีการบริหารงาน 2. วิริยะพละ ขยันอดทน มุ่งมั่น ตั้งใจทำงานด้วยความเพียรพยายาม 3. อนวัชพละ ปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อตรงและซื่อสัตย์สุจริตมีคุณธรรม จริยธรรม 4. สังคหะพละ มีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ และเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมงาน

References

เทศบาลเมืองเมืองลำตาเสา. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2566-2570 เทศบาลเมืองเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้น 2 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.asia/oDNBK

พระครูใบฎีกาเขมปัตถ์ สุทฺธิธมฺโม. (2564). การบริหารการพัฒนาตามแนวทางของหลักพละ 4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดเอกกร ติสาโร. (2558). นำตามหลักพุทธธรรมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยยุธยา: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2550). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระประสิทธิ์ สุเขธิโต. (2564). ภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในองค์การบริหารตำบลกุดน้ำใส อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปัญญา โชติธมฺโม. (2562). ภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา. (2521, 30 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 95 ตอนที่ 120 หน้า 1.

ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2561). ภาวะผู้นำในการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา:องค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 10(3), 139-156.

สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP). (2556). คู่มือ การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา และงบประมาณสำหรับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2550). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อำนาจ มลสิน. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการขององค์กรธุรกิจ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-02

How to Cite