การพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
การพัฒนาเชิงพื้นที่, เครือข่าย, การอนุรักษ์ธรรมชาติ, ถ้ำเลเขากอบบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว 2. กิจกรรมเครือข่ายในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และ 3. พัฒนาศักภาพของเครือข่ายการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เลือกแบบเจาะจงตามลักษณะการเป็นตัวแทนที่เหมาะสม ประกอบด้วย พระสงฆ์ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว จำนวน 25 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ดังนี้ 1. จุดแข็ง ผู้นำกิจกรรมคนพายเรือลอดถ้ำเป็นคนในท้องถิ่นและอธิบายเรื่องราวดี มีเอกลักษณ์เฉพาะ สถานที่มีลักษณะเฉพาะ ใกล้เส้นทางหลัก 2. จุดอ่อน บุคลากรดูแลนักท่องเที่ยวมีน้อย สถานที่จอดรถน้อย 3. โอกาส คือ การแทรกธรรมะให้เข้ากับแหล่งท่องเที่ยว, เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้จากเวบไซต์ เฟสบุ๊ค 4. อุปสรรค คือ แหล่งท่องเที่ยวอยู่ในการรับผิดชอบของกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อการพัฒนา 2. กิจกรรมเครือข่ายในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ร่วมปลูกต้นไม้ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกัน 3. การพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเพิ่มกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว รวบรวมกิจกรรมพื้นบ้านจากกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ วัดร่วมกิจกรรมอบรมให้ความรู้เที่ยวอย่างมีธรรมลอดถ้ำอย่างมีศีล โรงเรียนเพิ่มรายวิชาเพื่อท้องถิ่น
References
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และพระมหาเสรีชน นริสฺสโร. (2556). การพัฒนารูปแบบ และกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิมพิกา นวนจา และศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2563). ภาคีเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวของหมู่บ้านแม่กำปอง ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 11(2), 29-54.
ภัชลดา สุวรรณนวล และคณะ. (2565). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ลุ่มแม่น้ำตาปีอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(2), 290-307.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). โครงการเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. รายงานฉบับสมบูรณ์. กลุ่มนโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา.
อุมาพร บุญเพชรแก้ว. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศ ป่าชาย เลนสิรินาถราชินี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(5), 175-193.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น