ภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่นในตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • พระมหาธนรัตน์ ธนรตโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุมาลี บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, หลักสัปปุริสธรรม, นักการเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น และ 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ ประชาชนในตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดตราด จำนวน 7,663 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูปหรือคน ประกอบด้วย กลุ่มนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา กลุ่มนักวิชาการด้านด้านรัฐศาสตร์ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มผู้นำท้องที่ และกลุ่มผู้นำชุมชน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก  2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่น มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่น ภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักการเมืองท้องถิ่นควรมีความรับผิดชอบ และทำงานเป็นทีมเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความไว้วางใจ สร้างผูกพันกับชุมชนสร้างความเชื่อมโยงและความร่วมมือ มีการพัฒนาความรู้ มีการแบ่งงานและการมอบหมายอำนาจเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการท้องถิ่น

References

นนท์ชนันท์กรณ์ ฝ่ายเทศ. (2562). คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามหลักสัปปุริสธรรมของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นันทวัน แสนบัวคำ. (2558). คุณลักษณะของผู้นำท้องถิ่นตามความคิดเห็นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระทัน ธมฺมสโร. (2561). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนคูณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ. (2563). การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูม. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธี สิริปญฺโญ (วังใน). (2564). ภาวะผู้นำทางการเมืองตามหลักพุทธธรรมของผู้ปกครองท้องที่ในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ (สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2564). ตำบลห้วยแร้ง: สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน). สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้น 11 สิงหาคม 2565, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/stat/stat/

สุพานี สฤษฏ์วานิช. (2550). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite