ประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการ, โรงเรียนผู้สูงอายุ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 214 คน และใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพมีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคนและสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา.
ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = 0.59) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านปริมาณงาน ด้านค่าใช้จ่าย ด้านคุณภาพของงาน และด้านระยะเวลา ตามลำดับ ส่วนผลการสัมภาษณ์พบว่า 1. ด้านคุณภาพงาน คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีความตั้งใจ มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ตั้งแต่วางแผน ดำเนินการ ติตดาม ประเมินผล และปรับปรุง สร้างเครือข่าย 2. ด้านปริมาณงาน คือ ปริมาณกิจกรรมของบุคลากรที่รับผิดชอบมีความเหมาะสม มีการลดขั้นตอนและกิจกรรมที่ไม่จำเป็น 3. ด้านระยะเวลา คือ มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบหลักสูตร 1 ปี สำเร็จการศึกษา และ 4. ด้านค่าใช้จ่าย คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นหลัก และบางครั้งก็มีการทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อระดมทุน ยึดหลักความโปร่งใส คุ้มค่า คุ้มทุน จริงจัง ไม่สร้างภาระแก่นักเรียนผู้สูงอายุ
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2567). โรงเรียนผู้สูงอายุประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 66). สืบค้น 31 กรกฎาคม 2567, https:// www.dop.go.th/th/know/5/44.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2567). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้น 31 กรกฎาคม 2567, จาก dhttps://www. dop.go.th/th/know/1.
จารีย์ ปิ่นทอง และคณะ.(2566). สังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานไทย. สืบค้น 6 มกราคม 2566, จาก https://webcache.googleusercontent.com/search?q =cache:PKmnrZyfsuEJ
ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย. (2566). การพัฒนาการบริการสาธารณะของนิติบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารอาคารชุดในจังหวัดปทุมธานี (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2564). พุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัชราภรณ์ สันติเสวี. (2565). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11(6), R236 - R249.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2562). เศรษฐกิจผู้สูงวัย. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น