การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งผู้บริหาร และสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • จิณณะ โสตะจินดา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุมาลี บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเลือกตั้ง, การประยุกต์หลักพุทธธรรม, เทศบาล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล 3. เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะเพื่อยืนยันองค์ความรู้ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า 1. การเลือกตั้ง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตาม พบว่า ด้านการเลือกตั้งโดยเสมอภาค รองลงมาคือ การเลือกตั้งโดยลับ และการเลือกตั้งโดยเสรี ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งส่งผลต่อการเลือกตั้ง 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับดังนี้ ด้านบุคลิกภาพ ด้านสิ่งเร้าทางการเมือง และด้านสิ่งแวดล้อมทางการเมือง ซึ่งแสดงว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งสามารถร่วมกันทำนายการเลือกตั้งได้ร้อยละ 40.4 2. หลักอปริหานิยธรรม ส่งผลต่อการเลือกตั้ง 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับสมการดังนี้คือ เคารพสักการะบูชาเจดีย์ ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้เดิม และดูแลสตรีให้อยู่ดีมิถูกข่มเหง ซึ่งแสดงว่า หลักอปริหานิยธรรมสามารถร่วมกันทำนายการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี ได้ร้อยละ 46.9 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี พบว่า ทำกิจกรรมร่วมกันสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบ แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน ให้เกียรติทุกคนอย่างเท่าเทียม

References

ณฐมน หมวกฉิม. (2564). การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เติมศักดิ์ ทองอินทร์. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหาความรุนแรงในการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 6(2), 159-172.

ปฐมพงษ์ คำเขียว. (2565). หลักการพื้นฐานของการเลือกตั้งตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่สำคัญ. สืบค้น 29 มีนาคม 2566, จาก https://occ_th.constitutionalcourt.or.th/Article_detail/หลักการพื้นฐานของการเลือกตั้งตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่สำคัญ

พระมหายุทธพิชัย สิริชโย. (2561). การบริหารงานตามหลักอปหานิยธรรม. วารสารสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(2), 139-152.

พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร (อะซิ่ม). (2564). การนำหลักพุทธธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพวรรณ ปุริมาตร. (2563). พลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัชฎากร เอี่ยมอำไพ. (2563). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุมาลี บุญเรือง. (2564). การพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสมอ จุ่นเจริญ. (2557). ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). การใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด วันที่ 20 ธันวาคม 2563 จำแนกตามจังหวัด. สืบค้น 28 สิงหาคม 2567, จาก https://www.ect.go.th/web-upload/migrate/download/article/article_20210423101255.pdf

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. สืบค้น 31 มีนาคม 2566, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/StatMONTH/statmonth/#/displayData

Milbrath, L.W. & Goel, M.L. (1977). Political Participation: How and Why Do People Get Involved in Politics. Chicago: Rand McNally College Publishing Company.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite