การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจของประชาชน ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • มนตรี เอี่ยมพิทักษ์สกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์, หลักสัปปุริสธรรม, การตัดสินใจเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ดังนี้ 1. ศึกษาการตัดสินใจของประชาชนในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับการตัดสินใจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และ 3. ศึกษาแนวการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจของประชาชนในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 373 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คำนวณค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำเสนอเนื้อหาแบบเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การตัดสินใจของประชาชนในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. หลักสัปปุริสธรรม มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมการตัดสินใจของประชาชนในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับสูง 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจในการเลือกตั้งท้องถิ่นในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี มีดังนี้ เลือกผู้ที่มีนโยบายตรงกับสิ่งที่ต้องการ เลือกเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ตัดสินใจตามบริบทของท้องถิ่น เลือกนักการเมืองที่มีคุณธรรม รู้วันเวลาและศึกษาข้อมูลก่อนการเลือกตั้ง ต้องการให้ท้องถิ่นพัฒนา และรู้จักนักการเมืองและนโยบายที่ชัดเจน

References

กฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์รง และคณะ. (2564). การเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563 : การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชอนแก่น (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

กัญญาณัฐ อบสิณ. (2564). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(2), 165-175.

กาญจนา พันธ์เอี่ยม และคณะ. (2556). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สิทธิการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรของผู้นำชุมชน เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์(รายงานวิจัย). ประจวบคีรีขันธ์: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

จินตนา กะตากูล. (2562). การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ที่ 4 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(6), 15-24.

บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพิฆเนศวร์, 16(1), 151-161.

ปรมต วรรณบวร. (2561). ความเป็นพลเมืองเพื่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีธรรมวิเทศ (ประเสริฐ ปญฺโญภาโส). (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก. (2539). ธรรมะเพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.

พระใบฎีกาคณิน สุวณฺโณ (เร่งทอง) และคณะ. (2566). พฤติกรรมทางการเมืองของผู้นําท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่นในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(3), 13-26.

พระมหาธีรติ ธมฺมโสภโณ (โศภิตธรรม). (2564). การอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง และระดับพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์). (2564). การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบันฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุขุม นวลสกุล. (2557). การเมืองและการปกครองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรพล สุยะพรหม และ สุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Verba, S., et al., (1995). Voice and equality: Civic voluntarism in American politics. Cambridge, MA: Harward University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite