พุทธบูรณาการเพื่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
พุทธบูรณาการ, การบริหารจัดการ, โรงเรียนพระปริยัติธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย โดยการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 62 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( =3.72) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย พบว่า 1. ปัจจัยการบริหาร มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.69) 2. หลักอิทธิบาท 4 มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.66) 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการบริหาร (X1) หลักอิทธิบาท 4 (X2) มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. รูปแบบการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย พบว่า มีการประยุกต์ใช้กับหลักอิทธิบาท 4 ดังนี้ 1. ด้านวิริยะ บริหารงานด้วยความเพียรพยายาม 2. ด้านวิมังสา : บริหารงานด้วยการไตร่ตรอง 3. ด้านฉันทะ : บริหารงานด้วยความพอใจ 4. ด้านจิตตะ : บริหารงานด้วยความคิดจิตฝักใฝ่
References
เกศี จันทราประภาวัฒน์. (2565). พุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณรงค์ อภัยใจ. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 12(1), 32-45.
บวร ขมชุณศรี. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการจัดการเชิงกลยุทธ์สถานีบริการน้ำมันของบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปกิตน์ สันตินิยม. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูถาวรรัตนานุกิจ. (2566). โลกเปลี่ยน คนปรับ ขยับการเรียนรู้ ในโรงเรียน(ชนบท). สืบค้น 1 มีนาคม 2566, จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/nac /2021/slide/y6-lec01.pdf
พฤทธิพงศ์ จักกะพาก. (2565). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการไตรภาคีสังกัดกระทรวงแรงงาน. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัทราพร จันตะนี. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมชัย นันทาภิรัต. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). แผนพัฒนาเด็ก และเยาวชนในถิ่นทรุกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2560–2569). กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สวนจิตลดา.
Taro Yamane. (1967). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น