ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย, หลักปัญญา 3บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน 2. เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจทางการเมืองตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเมือง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากประชากร กลุ่มตัวอย่าง ในตำบลบ้านแล้ง จำนวน 380 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คำนวณค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนในตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระดับมาก ( =4.18) โดยด้านอำนาจอธิปไตยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ตามด้วยภราดรภาพ ความเสมอภาค และสิทธิและเสรีภาพ ตามลำดับ 2. ประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประชาชนที่มีเพศและอายุต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองของประชาชนไม่ได้รับผลกระทบจากเพศหรืออายุของพวกเขา ดังนั้นจึงไม่สามารถยอมรับสมมติฐานที่ว่า เพศหรืออายุมีผลต่อความรู้ความเข้าใจทางการเมืองได้ 3. ปัญหาที่พบรวมถึงการขาดความสนใจในกิจกรรมทางการเมืองและการขาดความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ทางการเมือง แนวทางแก้ไขคือการส่งเสริมให้ประชาชนศึกษาหาความรู้และเข้าใจสิทธิเสรีภาพของตนเอง และมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองมากขึ้นตามหลักปัญญา 3
References
กลุ่มงานผลิตเอกสาร. (2560). สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
คณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2565). การศึกษาความรู้ทางการเมืองในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
จารุกิตติ์ พิริยสุวัฒน์ และคณะ. (2563). พระพุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงวิถีวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ จังหวัด เลย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 741-754.
จินตนา กะตากูล. (2562). การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ที่ 4 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(6), 15-24.
นันทา ธงชัยสุริยา. (2562). การศึกษาการสร้างเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 3(2), 99-108.
ปกิจ พรรัตนานุกูล. (2565). ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนใน เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปิ่นอนงค์ ทองบ่อ. (2563). การเสริมสร้างความเข้าใจการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพระอินทราชา อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2561). ความรู้ความเข้าใจในหลักการประชาธิปไตยและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 9-23.
พระครูญาณวิจักขณ์ (ชัยวัฒน์ อริญฺชยาโณ). (2563). ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ (สารนิพนรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมาคมนักวิชาการไทย. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล สุยะพรหม และ สุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เอกชัย พรนิคม. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเทศบาลตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น