ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์พัฒ พันธ์พญาวัชร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, การเมือง, ประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ 1. ศึกษาทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง 2. เปรียบเทียบทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาทัศนคติทางการเมืองตามหลักสัปปุริสธรรม โดยการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เพื่อเข้าใจทัศนคติที่มีต่อประชาธิปไตย เพื่อดูว่าปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ เพศ การศึกษา มีผลต่อทัศนคติทางการเมืองของประชาชนอย่างไร เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาทัศนคติของประชาชนให้เข้ากับหลักสัปปุริสธรรม การวิจัยใช้ผสานวิธีระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชน 360 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) วิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ทัศนคติทางการเมืองของประชาชนในตำบลพลงตาเอี่ยม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่ประชาชนให้คะแนนสูงที่สุดคือ ด้านเสรีภาพ และด้านที่ให้คะแนนต่ำที่สุดคือ ด้านหลักเสียงข้างมากเคารพเสียงข้างน้อย 2. การเปรียบเทียบทัศนคติ พบว่าประชาชนที่มีการศึกษาหรือรายได้ต่างกันมีทัศนคติทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกันมีทัศนคติทางการเมืองที่ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาทัศนคติทางการเมืองตามหลักสัปปุริสธรรม พบว่า รู้ประมาณ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยไม่กดดัน รู้จักบุคคล ให้โอกาสในการมีส่วนร่วมตามความสามารถและความสนใจ รู้จักตน ผู้นำส่งเสริมความเข้าใจและแรงจูงใจในการมีส่วนร่วม รู้จักผล ทำให้ประชาชนเข้าใจบทบาทและตรวจสอบผลการทำงานของรัฐบาล รู้จักเหตุ ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ รู้จักชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและพัฒนาชุมชน รู้จักกาล ส่งเสริมการตัดสินใจและการมีส่วนร่วมในเวลาที่เหมาะสม

References

กองราชการส่วนเขต. (2560). ข้อมูลสภาเขตและองค์การบริหารส่วนเขต ประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงาน พิมพ์สำนักงานเลขาธิการ.

กัญญาภัทร สอนสุดชา. (2560). ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมแพอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2550) ทัศนคติของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านการบริการหางาน. กรุงเทพฯ: กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

ปิ่นอนงค์ ทองบ่อ. (2563). การเสริมสร้างความเข้าใจการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพระอินทราชา อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรภิรมณ์ ศรีทองคำ. (2558). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลบ้านช้าง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(2), 32-44.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีรติ ธมฺมโสภโณ (โศภิตธรรม). (2566). การอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(1), 124-137.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-05

How to Cite