ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • วันชัย สังข์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักอิทธิบาท 4, หลักพุทธรรม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยผสานวิธี ได้แก่ เชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง 43,810 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 397 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. หลักอิทธิบาท 4 กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับปานกลาง 3. การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับสูงทุกด้าน ได้แก่ จิตตะ ประชาชนตั้งใจศึกษานโยบายก่อนเลือกผู้แทน เน้นการแก้ปัญหาที่เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย วิริยะ ประชาชนเลือกผู้แทนที่มีความรู้ความสามารถโดยไม่ยึดติดตัวบุคคล วิมังสา มีการตรวจสอบและติดตามผลงานของนักการเมือง และฉันทะ ประชาชนเต็มใจมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ

References

กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง. (2550). การกระจายอำนาจการปกครอง ไปสู่ท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.

เชาวนะ ไตรมาศ. (2542). การเลือกตั้งแบบใหม่ทำไมคนไทยต้องไปเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ: สถาบัน นโยบายการศึกษา.

ตำรวจท่องเที่ยวระยอง. (2566). จำนวนประชากรจังหวัดระยอง. สืบค้น 12 มีนาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/7WXxm

ธีรวุฒิ โศภิษฐิกุล. (2542). การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ก. พล.

พระปัญญา สุจิตฺโต. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนในอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐตญาโณ). (2537). ธรรมาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ธีรพงษ์การพิมพ์.

ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา. (2564). การพัฒนากลไกการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุทน ทองเล็ก. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ.2562 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุมาลี บุญเรือง. (2564). การพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที ่มีผล ต่อการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Verba, S. et al. (1978). Participation in Political Equality: A Seven-Nation Comparison London: Cambridge University Press.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis (3rd ed.). New York: New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-16

How to Cite