รูปแบบการบริหารจัดการวัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระมหาสมชาย ขนฺติสรโณ (มะลิซ้อน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระราชวัชรสารบัณฑิต (ประสาร จนฺทสาโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการวัด, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการวัด 2. ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการวัด และ 3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการวัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร โดยระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณเชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับการบริหารจัดการวัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำนวน 9 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการวัด คือ จุดแข็ง วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จุดอ่อน วัดขาดแคลนทรัพยากร งบประมาณ บุคลากร และความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ โอกาส วัดทำงานร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขและใช้เทคโนโลยีส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และอุปสรรค ขาดบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทาง ดำเนินกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง 2. องค์ประกอบของการบริหารจัดการวัด ประกอบด้วยการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ เน้นการประเมินและติดตามผล พัฒนาทักษะบุคลากร และการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม การจัดองค์กรต้องมีโครงสร้างชัดเจน การประสานงานกับหน่วยงานภายนอก ควรมอบหมายหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญ ควบคุมเน้นกระบวนการประเมินและมาตรฐานชัดเจน ใช้เทคโนโลยีในการติดตามผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และการบริหารจัดการวัดเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักสัปปายะ 7 มุ่งเน้นการจัดพื้นที่และกิจกรรมที่เหมาะสม สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สงบ และเอื้อต่อการฟื้นฟูสุขภาพกายและจิตใจ 3. รูปแบบการบริหารจัดการวัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านสุขภาพกาย ร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขในการจัดบริการตรวจสุขภาพและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ด้านจิตใจ จัดกิจกรรมทางศาสนาที่ส่งเสริมการพัฒนาจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลและเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม รูปแบบการจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในกิจกรรมวัด และด้านสิ่งแวดล้อม จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและความสะดวกสบายของผู้สูงอายุ โดยเน้นการสร้างพื้นที่สีเขียว

References

กรมกิจการผู้สูงวัย. (2564). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563. สืบค้น16 ธันวาคม 2564, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335

ดวงเดือน รัตนะมงคลกุล และคณะ. (2560). การพัฒนาต้นแบบการเตรียมชุมชนสังคมสูงอายุแบบบูรณาการ: สามเสา สามวัย สามประสาน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 1-12.

พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. (2550). พุทธธรรมบำบัด. กรุงเทพฯ: กองแพทย์ทางเลือก กรมการพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

พระครูจริยธรรมานุรักษ์ (วัลลภ จริยธมฺโม). (2564). รูปแบบการพัฒนาที่พักสงฆ์เพื่อยกฐานะเป็นวัดในพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ จังหวัดราชบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์ (บุญเลิศ เตชปุญฺโญ). (2562). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของคณะสงฆ์ จังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิวิธธวัชชัย (ขวัญชัย วรปุญฺโญ). (2564). การพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาชุมชนของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดพิจิตร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีเมธาภรณ์ ฐิตธมฺโม (สายแก้วดี). (2564). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดธัญวัฒน์ อโสโก (รักษ์เพ็ชร). (2563). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านบ่อเกตุ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(2), 35-46.

พระมหาอัครวัฒน์ กิตฺติญาโณ (เหมือนพันธ์). (2565). การพัฒนาการบริหารจัดการเสนาสนะของวัด ตามมาตรฐานสุขาภิบาลในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราเชนทร์ วิสารโท. (2562). บูรณาการพุทธธรรมกับระบบการดูแลสุขภาพระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุของอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศิริวัฒน์ ปิยสีโล (คงศิริ). (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2564). ระบบทะเบียนวัด. สืบค้น 16 ธันวาคม 2564, จาก http://binfo.onab.go.th/Temple/Temple-List-view.aspx

เสาวนีย์ ไชยกุล และคณะ. (2562). การศึกษาองค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดพะเยา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-03

How to Cite

ขนฺติสรโณ (มะลิซ้อน) พ. ., & (ประสาร จนฺทสาโร) พ. . (2024). รูปแบบการบริหารจัดการวัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 7(6), 136–151. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/275477