รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อความยั่งยืน ของวัดต้นแบบในจังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • พระครูวิมลโสมนันท์ (โชคชัย อุคฺคเสโน) วัดท่าโสม จังหวัดตราด

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารจัดการ, กลุ่มสัจจะออมทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อความยั่งยืน 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อความยั่งยืน 3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อความยั่งยืนของวัดต้นแบบในจังหวัดตราด ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูปหรือคน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มผู้สนับสนุน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มนักวิชาการทางด้านจัดการเชิงพุทธ และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 12 รูปหรือคน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อความยั่งยืน มีการดำเนินงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก ความโปร่งใสในการบริหารจัดการ และการสร้างจิตสำนึกร่วมผ่านกิจกรรมทางศาสนาและการพัฒนาชุมชน โดยมีการกำหนดนโยบายและกฎระเบียบที่ชัดเจน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของคณะกรรมการที่มีวิสัยทัศน์และความซื่อสัตย์ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม และระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง 3. รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อความยั่งยืนของวัดต้นแบบในจังหวัดตราด ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. การสร้างความเป็นเจ้าของผ่านการมีส่วนร่วมของสมาชิก 2. การส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้วยการสร้างวินัยทางการเงินและพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ 3. การพัฒนาคนโดยยึดหลักคุณธรรมและประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และ 4. การควบคุมกันเองผ่านระบบตรวจสอบภายในและการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส ซึ่งรูปแบบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนากลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์อื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน

References

ชลพรรษ ดวงนภา. การเขียนสตอรี่บอร์ด. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www. watpon.com/boonchom/development.pdf

ฐานิดา มั่นคง และวิไลวรรณ อิศรเดช. (2565). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(1), 67-80.

ธนายุทธ อ่อนดี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มสะสมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลห้างสูง ตำบลห้างสูง อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 11(1), 51-61.

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการ จังหวัดราชบุรีสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(1), 71-87.

พระเหมวรารักษ์ ญาณสีโล (แก้วกำพล) และสมคิด พุ่มทุเรียน. (2563). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ตามหลักฆราวาสธรรมในเขต ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยวิชาการ, 3(2), 1-14.

วัชระ ขาวสังข์ และคณะ (2562). การบริหารจัดการกลุ่มสะสมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านไอร์เจี๊ยะ ตำบลซากอ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 “สังคมสูงวัย โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา” (น. 29-38). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

อรทัย แสงทอง และคณะ. (2557). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1), 223-228.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-01

How to Cite