Interpretative Contradiction of Semantically Vague Unit of the Word Pitika in Kalamasutra

Main Article Content

Phramaha Parathatti Yathongchai

Abstract

กาลามสูตร ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ชื่อว่า เกสปุตติสูตร เนื่องจากเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเกสปุตตินิคม แต่ที่เรียกว่า กาลามสูตร เพราะเกสปุตตินิคมเป็นเมืองที่ชาวกาลามะอยู่อาศัย และเพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงหลักเหตุผลประกอบความเชื่อถือในเรื่องต่างๆ ให้แก่ชาวกาลามะฟังนั่นเอง ในปัจจุบันนิยมเรียกชื่อว่า กาลามสูตรแทนคำว่า เกสปุตติสูตร เนื่องจากเป็นคำที่ง่ายต่อการจดจำและการเข้าใจ กาลามสูตร เป็นคำสอนที่ว่าด้วยความเป็นกลาง ในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับความเชื่อ คำสอน และหลักปฏิบัติทางศาสนา โดยให้ผู้ฟังมีอิสระในการตัดสินใจได้อย่างเต็มที่ ปราศจากการชี้นำ


 ดังนั้น การวิเคราะห์หลักการในกาลามสูตรโดยเนื้อหา สังคม สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ แนวคิดของนักวิชาการศาสนาทั้ง 2 กลุ่ม และการนำหลักธรรมที่มีลักษณะเป็นเครื่องมือวินิจฉัยข้อสงสัยต่าง ๆ จึงเป็นทางออกที่สำคัญสำหรับวิเคราะห์ความหมายที่แท้จริง ซึ่งจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า การให้ความหมายปิฎกศัพท์ว่า เป็นพระไตรปิฎก ไม่กระทบต่อความน่าเชื่อถือในคำสอนของพระพุทธเจ้า เนื่องจากมีคุณลักษณะตรงไปตรงมา เป็นสัจธรรม ทนทานต่อการพิสูจน์ ทุกยุคสมัย ส่วนแนวคิดของนักวิชาการที่เห็นว่า ปิฎกศัพท์ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เนื่องจากมีความเห็นว่า ถ้าปิฎกศัพท์หมายถึงพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าไม่จำเป็นต้องตรัสบอกไม่ให้เชื่อ เพราะเหตุที่ธรรมะที่พระองค์รู้แจ้งมีความเป็นสัจธรรมที่ต้องเปิดเผย โดยไม่หวั่นผลกระทบใดๆ นั่นเอง

Article Details

How to Cite
Yathongchai, P. P. . (2020). Interpretative Contradiction of Semantically Vague Unit of the Word Pitika in Kalamasutra. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 1(1), 11–26. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/243214
Section
Academic Articles