ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์

Main Article Content

ดวงใจ คงคาหลวง
พงษ์สันติ์ ตันหยง
วัลลภา วิชะยะวงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์ วิธีวิจัยแบบ  ผสมวิธี ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคอาหารออนไลน์ จำนวน 240 คน สุ่มตัวอย่างแบบโควตา ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง และวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้ประกอบการธุรกิจอาหารออนไลน์เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 8 ราย วิเคราะห์แบบพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อความภักดี ขนาดอิทธิพล -0.04 ไม่มีนัยสำคัญ ส่วนคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ มีอิทธิพลทางตรงต่อความไว้วางใจ ขนาดอิทธิพล 0.89 ความไว้วางใจมีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์ ขนาดอิทธิพล 0.96 และคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์โดยส่งผ่านความไว้วางใจ ขนาดอิทธิพล 0.85 มีนัยสำคัญ สมการโครงสร้างมีอำนาจพยากรณ์ความภักดีได้ร้อยละ 76 และ 2) แนวทางการสร้างความความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์ ควรจัดแต่งอาหารให้ดูน่ารับประทาน มีเมนูอาหารที่หลากหลาย ปริมาณอาหารเหมาะสมกับราคา มีคุณภาพเหนือความคาดหมาย มีช่องทางในการสื่อสาร กำหนดเวลาในการให้บริการ ยึดมั่นหลักการบริการที่ดี สร้างความประทับใจด้วยความรวดเร็ว สุภาพ จัดโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง มีระบบการตรวจสอบคำสั่งซื้อ รับฟังและพร้อมแก้ไขปัญหา รับผิดในความผิดพลาดด้วยการชดเชยในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับข้อค้นพบ คือ คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์และความไว้วางใจเป็นประโยชน์สามารถสร้างความภักดีของผู้บริโภคธุรกิจอาหารออนไลน์ในประเทศไทย

Article Details

How to Cite
คงคาหลวง ด., ตันหยง พ., & วิชะยะวงศ์ ว. (2023). ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 308–326. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/261642
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พงษ์สันติ์ ตันหยง, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

 

 

วัลลภา วิชะยะวงศ์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

 

 

References

กนกวรรณ แก้วตา. (2564). แนวทางการสร้างความภักดีในการใช้บริการโมบายแบงค์กิ้งของลูกค้าธนาคารออมสิน. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563, 1 กรกฎาคม). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/guidelines/guideline_white_covid19. pdf.

การตลาดวันละตอน. (2564, 30 กรกฎาคม). Top 10 Influencer Food Delivery และ Market share จาก Social listening. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2565 จาก, https://www.everydaymarketing.com/trend-insight/top-10-food-delivery-influencer-2021-thailand-social-listening/.

ธนภรณ์ แสงโชต. (2561). การยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน กรณีศึกษา เทคโนโลยี MyMo Mobile Banking บริบทธนาคารออมสิน. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนิต ธนะนิมิต. (2559). ผลกระทบของคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่อความเชื่อมั่นไว้วางใจและการใช้งานของเว็บไซต์ค้าปลีกในประเทศไทย. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 2(1), 63-76.

ธัญญธร ภิญโญพาณิชย์การ. (2563). คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสตรีมมิ่งของ NETFLIX. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บริษัท แพคไฮ จำกัด. (2565). เรื่อง 10 ปัญหาการขายของออนไลน์ ที่เป็นอุปสรรคในการขายดีมีอะไรบ้าง และมีแนวทางรับมืออย่างไร ปัญหาการขายของออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565, จาก https://packhai.com/selling-online-problems/

ภานุพงศ์ ลือฤทธิ์. (2560). คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ในการสร้างความพึงพอใจของผู้ใช้งาน: กรณีตัวอย่างของแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินบนโทรศัพท์มือถือ. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลลิตา พ่วงมหา พัชนี เชยจรรยา. (2561). โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุความภักดีของลูกค้าชาวไทยต่อธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2), 76-85.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563, 6 สิงหาคม). แข่งเดือดสั่งอาหารผ่านแอปฯ. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.kasikornresearch.com

สุวมิตร บุญแก้ว. (2559). ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการ MOBILE BANKING ทดแทนการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่อง ATM ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563, 30 มีนาคม). Thailand Internet User Behavior 2019. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx.

อมรินทร์ อะคาเดมี่. (2563, 20 มีนาคม). 6 ปัญหาที่ต้องระวัง เมื่อนำร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565, จาก https://amarinacademy.com/6748/management

อนุวัต สงสม. (2561). ปัจจัยเชิงเหตุของความภักดีทางอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาการซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่นซี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 2515-2529.

ฮังกี บล็อก. (2565, 1 กุมภาพันธ์). 6 ปัญหาพื้นฐานที่เจ้าของร้านอาหาร ต้องเจอ! พร้อมวิธีรับมือ. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565, จาก https://blog.hungryhub.com/6-%E0%B8%9B%

Al-dweeri, M.R. et al. (2017). The impact of e-service quality and e-loyalty on online shopping: Moderating effect of e-satisfaction and e-trust. International Journal of Marketing Studies, 9(2), 92-103.

Casaló, L., Flavián, C., & Guinalíu, M. (2007). The impact of participation in virtual brand communities on consumer trust and loyalty: The case of free software. Online Information Review, 31(6), 775-792.

Chang, H. et al. (2009). The impact of service quality, customer satisfaction and loyalty on e-marketing: Moderating effect of perceived value. Total Quality Management and Business Excellence, 20(4), 423-433.

Creswell, W. J., & Creswell, D. J (2018). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approach. London: Sage publications.

Diamantopoulous, A., & Siguaw, A.D. (2000). Introducing LISREL: A guide for the uninitiated. London: Sage Publications.

Ganguli, S., & Roy, S. K. (2011). Generic technology-based service quality dimensions in banking: Impact on customer satisfaction and loyalty. The International Journal of Bank Marketing, 29(2), 168-189.

Ghane, S., Fathian, M., & Gholamian, M. (2011). Full relationship among e-satisfaction, e-trust, e-service quality, and e-loyalty: The case of Iran e-banking. Journal of Theoretical and Applied Information Technology, 33(1), 1-6.

Gon, A., & Mititelu, C. (2016, July). Developments in corporate governance and responsibility, accountability and social responsibility: International perspectives (Developments in Corporate Governance and Responsibility, Vol. 9). Emerald Publishing, 9, 127-153.

Hu, L., & Bentler. M. P. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1-55.

Kassim, N., & Asiah Abdullah, N. (2010). The effect of perceived service quality dimensions on customer satisfaction, trust, and loyalty in e commerce settings: A cross cultural analysis. The Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 22(3), 351-371.

Lassoued, R., & Hobbs, J. E. (2015). Consumer confidence in credence attributes: The role of brand trust. Food Policy, 52(1), 99–107.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Malhotra, A. (2005). E-S-Qual: A multiple-item scale for assessing electronic service quality. The Journal of Service Research, 7, 1-21.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Malhotra, A. (2005). ES-QUAL: A multiple-item scale for assessing electronic service quality. Journal of Service Research, 7(3), 213-233.

Phan, K. N., & Ghantous, N. (2013). Managing brand associations to drive customers’ trust and loyalty in Vietnamese banking. The International Journal of Bank Marketing, 31(6), 456-480.

Sathiyavany, N., & Shivany, S. (2018). E-Banking service qualities, e-Customer satisfaction, and e-Loyalty: A conceptual model. The International Journal of Social Sciences and Humanities Invention, 5(6), 4808-4819.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). New York: Routledge.

Tran, V. D., & Vu, Q. H. (2019). Inspecting the relationship among E-service quality, E-trust, E-customer satisfaction and behavioral intentions of online shopping customers. Global Business & Finance Review, 24(3), 29-42.

Zeithaml, V.A., Berry, L.L., & Parasuraman, A.V. (1996). The Behavioral Consequences of Service Quality. Journal of Marketing, 60(2), 31-46.